
แรกรักรักจากหน้า
พิศนัยนาดูน่ามอง
พิศแก้มนวลละออง
พิศผิวผ่องก่อนสิ่งใด
พิศดูรูปงามพริ้ม
พิศรอยยิ้มจรุงใจ
พิศนอกก่อนพิศใน
พิษรักร้ายร้าวฤดี
หากพูดถึงความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากความรัก หลายคนอาจนึกถึงเรื่องรักที่ไม่สมหวัง เช่น ข้างหลังภาพ
Once , Her , ตำนานขนมครก
ในวรรณคดีก็มีเรื่องราวแบบนี้เหมือนกันนะ
ไปดูกันน
มัทนะพาธา
มทน แปลว่า ความรัก (เชิงสัมพันธ์ชู้สาว)
พาธา แปลว่า ความเจ็บปวด
เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่าความเจ็บปวดอันเนื่องมาจากความรัก หรืออีกนัยหนึ่งคือ ความเจ็บปวดของนางมัทนา
จากชื่อมัทนะพาธาเป็นการแกล้ง ๆ บอกถึงปมปัญหาของเรื่อง เนื่องด้วยวรรณคดีสันสกฤตมักตั้งชื่อตัวละครตามบทบาทในเรื่อง
ลักษณะคำประพันธ์
แต่งด้วยฉันท์ 21 ชนิด เช่น สัททุลวิกกีฬิต อินทรวิเชียร
อินทวงศ์ วสันตดิลก สาลินี เป็นต้น
ฉันท์ที่ใช้เปลี่ยนไปตามเหตุการณ์ในเรื่อง เนื่องด้วยฉันท์มีเสียงหนัก-เบาจึงให้อารมณ์ต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าใช้คำฉันท์ต่างชนิดกันเพื่อให้เหมาะสมตามสถานการณ์ เช่น ฉันท์ที่จังหวะหนักแน่นอย่าง สัททุลฯ
ใช้ตอนมายาวินร่ายบูชาพระศิวะ
เป็นลักษณะที่ได้รับมาจากวรรณคดีสันสกฤต
ไม่อยากจะเมาท์ว่าตัวละครกับฉันท์ก็แบ่งฐานะกันด้วยนะ
ฐานะยิ่งสูงยิ่งหนาว ผิด ๆ
ฐานะสูงฉันท์ยาก
ปังเนาะ
ใช้กาพย์ 3 ชนิด คือ ยานี11 ฉบัง16 สุรางคนางค์28
(จริง ๆ กาพย์ก็แปลงมาจากฉันท์นั่นแหละ ตัดครุ ลหุ)
การนำเสนอเรื่องเป็นการผสมผสานระหว่างละครไทย ตะวันตก และสันสกฤต (ช่วงคนยุโรปตื่นตัวกับความรู้อินเดีย) เป็นอะไรที่แปลกใหม่เพราะรับอิทธิพลของตะวันตกเข้ามาด้วย
ลักษณะละครไทย
แน่ล่ะว่าต้องมีการฟ้อนรำ การจับระบำบางฉาก
ในภาคสวรรค์เปิดฉากด้วยการจับระบำของเหล่าคนธรรพ์และอัปสร
ลักษณะละครตะวันตก คือการจบแบบโศกนาฏกรรม
ละครไทยเรานิยมจบแบบแฮปปี้ เรื่องนี้จึงเป็นอะไรที่แปลกใหม่
ลักษณะละครสันสกฤต
ฉาก : กำหนดให้เป็นยุคภารตวรรษ
ภารต มาจาก ภรต เป็นชื่อกษัตริย์องค์แรกในนิยายปรัมปราอินเดีย โอรสของทุษยันต์และนางศกุนตลา ผู้สืบเชื้อสายจากภรต เรียกว่า ภารต
ตัวละครสำคัญ
มัทนา : ผู้ถูกรัก ผู้รัก เจ็บปวดเพราะรัก
สุเทษณ์ : ผู้รัก ไม่สมหวังในรัก เจ็บปวดเพราะรัก
ชัยเสน : ผู้รัก ผู้ถูกรัก เจ็บปวดเพราะรัก
จัณฑี : ไม่สมหวังในรัก ผู้รัก เจ็บปวดเพราะรัก
'ความรักทำให้คนตาบอด'
จะรักอย่างไรให้มีความสมเหตุสมผล?
เราต้องรักอย่างไรกัน?
เนื้อหาที่เขียนอ้างอิงจากวิชาวรรณคดี ร.๖