
Jane Elliott เป็นครูสอนเด็กประถมในเมืองที่มีแต่คนผิวขาว เธอตั้งใจจะสอนเด็กให้เข้าใจเรื่องเหยียดผิว
เนื่องจากวันที่ 4 เมษายน 1968 Martin Luther King ถูกลอบสังหาร เด็ก ๆ รู้จักเขาแต่ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาต้องถูกฆ่า
Elliott แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม เด็กตาสีน้ำตาลกับเด็กตาสีฟ้า
เธอประกาศว่า เด็กตาสีน้ำตาลมีสถานะเหนือกว่าเด็กตาสีฟ้า “พวกเขาเป็นคนที่พิเศษกว่าในห้องเรียนนี้” เธอว่า
จากนั้นเธอจับนักเรียนแยกกัน ให้เด็กตาสีฟ้านั่งหลังห้อง พร้อมบอกว่าเด็กตาสีน้ำตาลนั้นเฉลียวฉลาดกว่า และอนุญาตให้พวกเขามีเวลาพักนานกว่า
นอกจากนี้เธอยังให้เด็กตาสีฟ้าต้องสวมปลอกคอพิเศษเพื่อให้มองเห็นได้แต่ไกลว่าพวกเขามีตาสีอะไร และห้ามเด็กทั้งสองกลุ่มเล่นด้วยกันในเวลาพัก
สิ่งทีเห็นคือภาพห้องเรียนที่เปลี่ยนไป
เธอเห็นเด็ก ๆ กลายเป็นคนที่หยาบคาย โหดร้าย และแบ่งแยก มิตรภาพดูหายวับไปกับตา
เด็กตาสีน้ำตาลพากันดูถูกเด็กตาสีฟ้าที่เคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน
นักเรียนที่มีตาสีน้ำตาลคนหนึ่งถามว่า ทำไมเธอถึงเป็นครูได้ ทั้ง ๆ ที่เธอมีตาสีฟ้า
วันรุ่งขึ้น Elliott เดินเข้ามาในห้องพร้อมประกาศว่าเธอเข้าใจผิดไป ความจริงแล้วนักเรียนตาสีน้ำตาลต่างหากที่ต่ำต้อยกว่า
เด็ก ๆ รู้ทันทีว่าโชคชะตาได้เปลี่ยนไป เด็กตาสีฟ้าพากันโห่ร้องด้วยความดีใจ แล้วเอาปลอกคอของตัวเองไปสวมให้เพื่อนที่ตาสีน้ำตาลผู้ต่ำต้อย
นักเรียนคนหนึ่งเล่าว่า ในวันที่เป็นคนต่ำต้อย พวกเขารู้สึกโศกเศร้า ผิดหวัง และไร้ค่า แต่พอเป็นฝ่ายเหนือกว่า พวกเขารู้สึกตัวเองเก่งกาจและมีความสุข
แม้แต่ความสามารถในการเรียนก็เปลี่ยนไป
เนื่องจากวันที่ 4 เมษายน 1968 Martin Luther King ถูกลอบสังหาร เด็ก ๆ รู้จักเขาแต่ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาต้องถูกฆ่า
Elliott แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม เด็กตาสีน้ำตาลกับเด็กตาสีฟ้า
เธอประกาศว่า เด็กตาสีน้ำตาลมีสถานะเหนือกว่าเด็กตาสีฟ้า “พวกเขาเป็นคนที่พิเศษกว่าในห้องเรียนนี้” เธอว่า
จากนั้นเธอจับนักเรียนแยกกัน ให้เด็กตาสีฟ้านั่งหลังห้อง พร้อมบอกว่าเด็กตาสีน้ำตาลนั้นเฉลียวฉลาดกว่า และอนุญาตให้พวกเขามีเวลาพักนานกว่า
นอกจากนี้เธอยังให้เด็กตาสีฟ้าต้องสวมปลอกคอพิเศษเพื่อให้มองเห็นได้แต่ไกลว่าพวกเขามีตาสีอะไร และห้ามเด็กทั้งสองกลุ่มเล่นด้วยกันในเวลาพัก
สิ่งทีเห็นคือภาพห้องเรียนที่เปลี่ยนไป
เธอเห็นเด็ก ๆ กลายเป็นคนที่หยาบคาย โหดร้าย และแบ่งแยก มิตรภาพดูหายวับไปกับตา
เด็กตาสีน้ำตาลพากันดูถูกเด็กตาสีฟ้าที่เคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน
นักเรียนที่มีตาสีน้ำตาลคนหนึ่งถามว่า ทำไมเธอถึงเป็นครูได้ ทั้ง ๆ ที่เธอมีตาสีฟ้า
วันรุ่งขึ้น Elliott เดินเข้ามาในห้องพร้อมประกาศว่าเธอเข้าใจผิดไป ความจริงแล้วนักเรียนตาสีน้ำตาลต่างหากที่ต่ำต้อยกว่า
เด็ก ๆ รู้ทันทีว่าโชคชะตาได้เปลี่ยนไป เด็กตาสีฟ้าพากันโห่ร้องด้วยความดีใจ แล้วเอาปลอกคอของตัวเองไปสวมให้เพื่อนที่ตาสีน้ำตาลผู้ต่ำต้อย
นักเรียนคนหนึ่งเล่าว่า ในวันที่เป็นคนต่ำต้อย พวกเขารู้สึกโศกเศร้า ผิดหวัง และไร้ค่า แต่พอเป็นฝ่ายเหนือกว่า พวกเขารู้สึกตัวเองเก่งกาจและมีความสุข
แม้แต่ความสามารถในการเรียนก็เปลี่ยนไป
ในแบบฝึกหัดอ่านออกเสียงโดยใช้บัตรคำศัพท์ นักเรียนต้องอ่านออกเสียงคำศัพท์ที่เห็นให้เร็วที่สุดจนครบทุกใบ
ในวันที่เด็กตาสีฟ้าอยู่ในสถานะต่ำต้อย พวกเขาใช้เวลามากถึง 5.5 นาที
แต่วันที่พวกเขาเหนือกว่า กลับใช้เวลาเพียง 2.5 นาที
เมื่อถามว่าทำไมวันก่อนถึงอ่านช้า เด็กคนหนึ่งตอบว่า “ก็เราสวมปลอกคออยู่นี่คะ” อีกคนเสริมว่า “เราหยุดคิดถึงปลอกคอไม่ได้เลย”
ในวันที่เด็กตาสีฟ้าอยู่ในสถานะต่ำต้อย พวกเขาใช้เวลามากถึง 5.5 นาที
แต่วันที่พวกเขาเหนือกว่า กลับใช้เวลาเพียง 2.5 นาที
เมื่อถามว่าทำไมวันก่อนถึงอ่านช้า เด็กคนหนึ่งตอบว่า “ก็เราสวมปลอกคออยู่นี่คะ” อีกคนเสริมว่า “เราหยุดคิดถึงปลอกคอไม่ได้เลย”
บทเรียนนี้ฝังใจนักเรียนไปอีกนาน
ในการวิจัยเพื่อติดตามผลในอีก 10 และ 20 ปีต่อมาพบว่า นักเรียนของ Elliott มีทัศนคติเหยียดผิวน้อยกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จำลองนี้อย่างมาก
“เราต้องจัดการเรื่องเหยียดผิวตั้งแต่ยังเด็ก ไม่อย่างนั้นมันจะติดตัวคุณไปตลอดชีวิต เวลาที่ฉันรู้สึกว่าตัวเองกำลังเหยียดคนอื่นอยู่ ฉันจะหยุดและนึกย้อนกลับไปสมัยเกรดสาม แล้วนึกว่าตัวเองรู้สึกอย่างไรเมื่อโดนดูถูกเหยียดหยาม” นักเรียนคนหนึ่งกล่าว
วิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และ Elliott เลือกใช้วิธีนั้น
เธอทำให้เด็ก ๆ มีภาพจำเมื่อตนเองโดนเยาะเย้ยถากถาง
เธอทำให้เด็ก ๆ รับรู้ถึงความรู้สึกต่ำต้อย
เธอทำให้เด็ก ๆ ต้องผงะเวลาที่เห็นสีตาของตัวเองในกระจก
บทเรียนของ Elliott ยังมีพลังแม้จะรับรู้ผ่านตัวหนังสือ ผมเคยอ่านเรื่องนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ก็ยังจำได้จนถึงทุกวันนี้
ไม่ใช่เรื่องการเหยียดผิวเท่านั้น เรายังสามารถเอาบทเรียนของเธอไปปรับใช้กับเรื่องอื่นที่มีความละเอียดอ่อนไม่ว่าจะเป็นศาสนาหรือการเมือง
เรื่องประเภทนี้สามารถสร้างความขัดแย้งได้เสมอ เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่เราเชื่อย่อมเหนือกว่า
เราไม่ได้มองว่าคนอื่นมีความเท่าเทียมกับเรา เนื่องจากเราไม่ได้ถูกสอนกันมาตั้งแต่ต้น
แต่เราก็เรียนรู้มันได้ตั้งแต่วันนี้
ลองเริ่มด้วยการตั้งหัวข้อที่จะถกเถียง พยายามหาเหตุผลเพิ่มน้ำหนักให้ตนเองและพยายามหักล้างอีกฝ่ายให้เต็มที่
จากนั้นเปลี่ยนกันบ้าง
พยายามหาหลักฐานให้ได้ว่าความเห็นของอีกฝ่ายมีดียังไง สนับสนุนความเห็นของอีกฝ่ายให้สุดความสามารถ แล้วให้คนกลางเป็นคนตัดสิน
แล้วความขัดแย้งก็จะเริ่มหายไป ความเท่าเทียมจะเริ่มเข้ามาแทน
ข้อมูลอ้างอิง :
ในการวิจัยเพื่อติดตามผลในอีก 10 และ 20 ปีต่อมาพบว่า นักเรียนของ Elliott มีทัศนคติเหยียดผิวน้อยกว่านักเรียนที่ไม่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์จำลองนี้อย่างมาก
“เราต้องจัดการเรื่องเหยียดผิวตั้งแต่ยังเด็ก ไม่อย่างนั้นมันจะติดตัวคุณไปตลอดชีวิต เวลาที่ฉันรู้สึกว่าตัวเองกำลังเหยียดคนอื่นอยู่ ฉันจะหยุดและนึกย้อนกลับไปสมัยเกรดสาม แล้วนึกว่าตัวเองรู้สึกอย่างไรเมื่อโดนดูถูกเหยียดหยาม” นักเรียนคนหนึ่งกล่าว
วิธีเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และ Elliott เลือกใช้วิธีนั้น
เธอทำให้เด็ก ๆ มีภาพจำเมื่อตนเองโดนเยาะเย้ยถากถาง
เธอทำให้เด็ก ๆ รับรู้ถึงความรู้สึกต่ำต้อย
เธอทำให้เด็ก ๆ ต้องผงะเวลาที่เห็นสีตาของตัวเองในกระจก
บทเรียนของ Elliott ยังมีพลังแม้จะรับรู้ผ่านตัวหนังสือ ผมเคยอ่านเรื่องนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ก็ยังจำได้จนถึงทุกวันนี้
ไม่ใช่เรื่องการเหยียดผิวเท่านั้น เรายังสามารถเอาบทเรียนของเธอไปปรับใช้กับเรื่องอื่นที่มีความละเอียดอ่อนไม่ว่าจะเป็นศาสนาหรือการเมือง
เรื่องประเภทนี้สามารถสร้างความขัดแย้งได้เสมอ เพราะเราเชื่อว่าสิ่งที่เราเชื่อย่อมเหนือกว่า
เราไม่ได้มองว่าคนอื่นมีความเท่าเทียมกับเรา เนื่องจากเราไม่ได้ถูกสอนกันมาตั้งแต่ต้น
แต่เราก็เรียนรู้มันได้ตั้งแต่วันนี้
ลองเริ่มด้วยการตั้งหัวข้อที่จะถกเถียง พยายามหาเหตุผลเพิ่มน้ำหนักให้ตนเองและพยายามหักล้างอีกฝ่ายให้เต็มที่
จากนั้นเปลี่ยนกันบ้าง
พยายามหาหลักฐานให้ได้ว่าความเห็นของอีกฝ่ายมีดียังไง สนับสนุนความเห็นของอีกฝ่ายให้สุดความสามารถ แล้วให้คนกลางเป็นคนตัดสิน
แล้วความขัดแย้งก็จะเริ่มหายไป ความเท่าเทียมจะเริ่มเข้ามาแทน
ข้อมูลอ้างอิง :
หนังสือ Made to Stick โดย Chip และ Dan Heath
Comments
nananatte
10 months ago
อ่านแล้วสะดุ้งเลยค่ะ... กำลังคิดว่าคุณครูทำการทดลองกับเด็กได้โหดจัง
อ่อ โอเค... ทำแป๊บเดียวสินะ
เรื่องที่เกิดขึ้นในอเมริกา มันโหดร้ายจริงๆ ค่ะ
แต่พอวกกลับมามองที่ไทย... ที่ไทยอาจไม่ใช่เรื่องสีผิว แต่เป็นเรื่องการเมืองและชนชั้นสินะ...
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ค่ะ :-)
Reply
ChanWrite
10 months ago
บทเรียนโหดจริงครับ ของไทยท่าจะสอนแบบนี้ก็ต้องเตรียมรับมือกับดราม่าด้วย แต่ถ้าคนสอนมุ่งมั่นพอก็น่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดี
ppim28
9 months ago
หนูเคยได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนที่อเมริกาค่ะ จะบอกว่าการเหยียดผิวคือเหมือนเป็นปัญหาที่รอการปะทุจริงๆค่ะ เหมือนมีปัญหานี้มานานมากๆแล้ว อาจารย์ของหนูตอนนั้นขนาดในโรงเรียนที่ไปอยู่มี หลายเชื้อชาติมากๆ อาจารย์ยังเหยียดเลยค่ะ แต่ก็แค่คนเดียว ที่เหลือก็ปกติ ดีต่อกันมากๆ เป็นประสบการณ์มากเลยค่ะ
Reply