
ความรู้สึกผิด คือบางครั้งการหาคนทำผิด “ง่ายกว่า” การทำความเข้าใจทุกส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับความพลั้งพลาดในครั้งนั้น.
เสียงเรียกร้องหาอิสรภาพจากหัวใจที่ถูกคุมขัง
“การลงโทษตัวเอง”เพื่อตัดสินคดีความแห่งชีวิต ซึ่งจบลงด้วยการถูกความรู้สึกผิดจองจำ “จมอยู่กับความรู้สึกผิด โกรธตัวเอง และเศร้าเสียใจ”.
คล้ายกับกระบวนการพิพากษา
จิตใจจะเสาะหาปัญหาความทุกข์ในจิตใจจึงเกิดขึ้น นั่นเพราะจิตใจเลือกที่จะเชื่อว่า “ฉันผิดคนเดียว สิ่งอื่นไม่เกี่ยว”. การฝังใจเชื่อเช่นนี้ เป็นการยึดถือในความคิดจนสร้างความรู้สึกผิดขึ้นมา.
หลักฐานที่เป็นไปได้ว่า
“ตนเองนั้นกระทำผิดแต่เพียงผู้เดียว”
มีสิ่งหนึ่งที่จิตใจหลงลืมไป คือทั้งหมดนี้จึงหมายถึง การตัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวออกทั้งหมด “ยกเว้นตัวเอง”. เมื่อหลงเหลือแต่เพียงตนเองแล้ว จึงง่ายดายที่จะฟาดฟันความโกรธเคือง ระบายความคับแค้น และเฆี่ยนตีชีวิตจิตใจซ้ำแล้วซ้ำเล่า.
“การคืนอิสรภาพ และความยุติธรรมให้แก่ชีวิตตนเอง”
“การตอกย้ำตนเอง”เช่น ทั้งหมดเป็นความผิดของตนเอง, ฉันคือต้นเหตุของเรื่องทั้งหมด, รู้งี้น่าจะเลือกทางอื่น, ถ้าย้อนไปได้จะไม่ทำแบบนั้น เป็นต้น.
คือ ภาพสะท้อนของความรู้สึกผิดจากการตีตราตนเอง
หากมองอย่างกว้างขวางคงไม่ยุติธรรมเท่าไหร่ ในการใช้ตนเองเป็นตัวแปรของทุกอย่าง. ในเมื่อทุกเหตุการณ์มีส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องมากมาย “เหตุใดจึงเพ่งเล็งเฉพาะตนเอง”.
เราจะพบสิ่งที่มองข้าม
การทำความเข้าใจรอบด้านมีความสำคัญ“การกลับมามองโลกตามความเป็นจริง” เป็นการมองอย่างไม่มีเงื่อนไข. การไม่มีเงื่อนไขในที่นี้หมายถึง การมองโดยไม่ใช้มาตรฐานตัดสิน หรือตีตรา “ว่าใครเป็นคนผิด”.
“ไม่ใช่ทำเพื่อปัดความรับผิดชอบ”
แต่มีเพื่อให้เราสามารถกลับมามองโลกตรงตามความเป็นจริง
เมื่อขอบเขตความเข้าใจมิได้ถูกจำกัด
การมองเห็นจึงชัดเจน
สามารถทำความเข้าใจชีวิตเพิ่มเติมมากขึ้น
“เข้าใจมากกว่าเอาแต่ตีตรา”
ชีวิตจะเป็นอย่างไรหากเราหมกมุ่นอยู่กับการตีตราตนเอง “จมอยู่กับความรู้สึกผิดตลอดชีวิต”. ด้วยเหตุนี้เอง มนุษย์เราจึงมีความสามารถในการเข้าใจ ยอมรับ ให้อภัย “เพื่อเติบโตและก้าวเดินต่อไป”.
การเติบโตและก้าวเดินต่อไปมีความสำคัญการเติบโตและก้าวเดินต่อไป คือ การยอมรับความเป็นจริงที่ผ่านพ้น มอบอิสระให้ตนเอง ปลดปล่อยจากการถูกความรู้สึกผิดคุมขัง รวมทั้งยังเป็นการเรียนรู้บทเรียนชีวิต “เราสามารถล้มแล้วลุกขึ้นใหม่ได้”.
Written in this book
นักจิตวิทยาการปรึกษามองความรู้สึก
มุมมองเกี่ยวกับความรู้สึกรูปแบบต่าง ๆ ที่นักจิตวิทยาการปรึกษาอยากแบ่งปัน
Writer
GainTheCounselor
นักจิตวิทยาการปรึกษา
สวัสดีครับผมชื่อ "เกน" เป็นนักจิตวิทยาการปรึกษาครับ ผมขอใช้พื้นที่แห่งนี้แบ่งปันประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ในชีวิต ร่วมเดินทางและเรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ ^^
Facebook Fanpage: Gain The Counselor - เกน : นักจิตวิทยาการปรึกษา
www.facebook.com/GainTheCounselor