
#18 เขียนสิ่งที่คุณกลัว เขียนสิ่งที่ตามหลอกหลอนคุณ
ผมกลัวอะไรหลายๆ อย่าง กลัวสังคมปัจจุบัน กลัวยุคปัจจุบันที่เรามีชีวิตอยู่
ผมมีลูกชายอายุ 23 ปี และผมว่าทุกคนก็หวังอยากจะเห็นอะไรพัฒนาขึ้นในยุคสมัยของคนรุ่นต่อไป แต่ผมกลัวมากจริงๆ ว่ามันอาจไม่มีอะไรดีขึ้นเลยสำหรับคนรุ่นเขา
แต่ผมก็คิดว่า การเผชิญหน้ากับความกลัวและต่อสู้กับอะไรสักอย่างนั้น ก่อนอื่น เราต้องระบุคู่ต่อสู้ให้ได้ เราควรชี้ออกมาได้ชัดๆ ว่าเรากำลังสู้อยู่กับอะไร หรือมีประเด็นตรงไหนที่ถ้าเรารู้ เราสามารถกำจัดมันไปได้ แล้วมันจะทำให้ชีวิตเราสังคมเราดีขึ้น
แต่การจะชี้ชัดว่าคู่ต่อสู้คืออะไร ประเด็นที่เราสู้อยู่มันอยู่ตรงไหน ผมคิดว่าเราใช้ชีวิตอยู่ในยุคสมัยที่ยุ่งยากมาก ยากที่จะบอกออกมาให้กระจ่างว่าเราต้องทำอะไรเพื่อทำให้สถานการณ์มันดีขึ้น
ในหนัง PARASITE ตัวลูกชายก็อายุใกล้เคียงกับลูกผม และในตอนจบ คุณก็เห็นว่าเขาพูดออกมาว่าเขาจะซื้อบ้านรวย ภาพออกมาสดใสเปี่ยมไปด้วยความหวัง แต่ก็นั่นแหล่ะ ทำไมคุณถึงรู้สึกเศร้าหนักกว่าเดิม ก็เพราะเจ้าเด็กนี่กำลังพูดถึงความหวังที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริงได้ ผมคิดว่าความกลัวมากมายมันผุดโผล่ออกมาจากการได้เห็นอะไรแบบนี้ ถึงมันจะทำให้คนกลัวหรือเศร้าหนัก ผมก็แค่อยากจะฉายภาพความวิตกกังวลและความกลัวของตัวเองออกมาในหนังเรื่องนี้ ผมคิดว่า PARASITE เป็นหนังที่ฉายภาพยุคสมัยปัจจุบันอย่างตรงไปตรงมา
#19 มีภาพสุดท้ายให้ชัดก่อนเริ่มลงมือเขียน
กระบวนการทำงานปกติของผมก็คือ ผมจะปล่อยให้ไอเดียค่อยๆ เติบโต ค่อยๆ แพร่กระจาย ผมจะปล่อยมันวิ่งอยู่ในหัวสัก 3-4ปี เวลา ที่ผมใช้พิมพ์บทภาพยนตร์ลงไปในคอมจริงๆ คือ 4-6 เดือน อย่าง PARASITE ก็เขียนจริงๆ อยู่ 4 เดือน 90% ของหนังคือเขียนในช่วงสี่เดือนนั้น
ในหนัง PARASITE ตัวลูกชายก็อายุใกล้เคียงกับลูกผม และในตอนจบ คุณก็เห็นว่าเขาพูดออกมาว่าเขาจะซื้อบ้านรวย ภาพออกมาสดใสเปี่ยมไปด้วยความหวัง แต่ก็นั่นแหล่ะ ทำไมคุณถึงรู้สึกเศร้าหนักกว่าเดิม ก็เพราะเจ้าเด็กนี่กำลังพูดถึงความหวังที่ไม่มีทางเกิดขึ้นจริงได้ ผมคิดว่าความกลัวมากมายมันผุดโผล่ออกมาจากการได้เห็นอะไรแบบนี้ ถึงมันจะทำให้คนกลัวหรือเศร้าหนัก ผมก็แค่อยากจะฉายภาพความวิตกกังวลและความกลัวของตัวเองออกมาในหนังเรื่องนี้ ผมคิดว่า PARASITE เป็นหนังที่ฉายภาพยุคสมัยปัจจุบันอย่างตรงไปตรงมา
#19 มีภาพสุดท้ายให้ชัดก่อนเริ่มลงมือเขียน
กระบวนการทำงานปกติของผมก็คือ ผมจะปล่อยให้ไอเดียค่อยๆ เติบโต ค่อยๆ แพร่กระจาย ผมจะปล่อยมันวิ่งอยู่ในหัวสัก 3-4ปี เวลา ที่ผมใช้พิมพ์บทภาพยนตร์ลงไปในคอมจริงๆ คือ 4-6 เดือน อย่าง PARASITE ก็เขียนจริงๆ อยู่ 4 เดือน 90% ของหนังคือเขียนในช่วงสี่เดือนนั้น
ผมจะมีภาพสุดท้ายและซีนสุดท้ายเตรียมไว้ในใจตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ 5-6 ปีก่อนที่จะเขียนบทให้เสร็จ
คือผมรู้ว่าหนังจะจบแบบไหนตั้งแต่ตอนที่ทั้งเรื่องมีเรื่องย่ออยู่แค่หน้าเดียว ดังนั้น ตอนที่เขียนบท ฉากจบก็จะไม่เปลี่ยน ผมรู้สึกว่าตัวเองเขียนเรื่องทั้งเรื่องไปเพื่อที่จะทำให้เรื่องมันจบได้แบบที่ทดไว้ในใจ
แต่กับ PARASITE นี่ค่อนข้างต่างจากปกติ ตอนเขียนผมไม่รู้เลยว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หลายครั้งที่นั่งเขียนบทในช่วง 4 เดือนนั้น ผมไม่รู้เลยว่าเดี๋ยวมันจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกในอีก 10 หน้าถัดไป ครึ่งแรกของหนัง คุณจะเห็นสมาชิกบ้านจนค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปอยู่ในบ้านรวย ผมมีไอเดียนี้อยู่แต่แรกอยู่แล้ว มีมาก่อนหน้าสัก 3-4 ปี แต่ผมไม่รู้ว่ามันจะเกิดอะไรต่อไปหลังจากที่บ้านจนเข้ามาอยู่ในบ้านรวยได้
จะเล่าลงรายละเอียดกว่านี้ก็ไม่ได้(เพราะเดี๋ยวจะสปอยด์) แต่มันจะมีเหตุการณ์หนึ่งในหนังตรงคืนวันฝนตกหนักที่มีเสียงออดดังขึ้นหน้าบ้าน แล้วหลังจากนั้นเรื่องก็กลับตาลปัตรไปเลย ดังนั้น ครึ่งหลังของหนังก็เพิ่งจะมาเอาตอนที่ผมใช้เวลา 3-4 เดือนนั่งเขียนบทนั่นแหล่ะ แต่เป็นช่วงเวลา 4 เดือนที่ผมสนุกมาก ปกติเวลาเขียนบทผมจะทรมานน่าดู เขียนจนตัวเองกลายเป็นมาโซคิสม์ไปเสียแล้ว แต่กับ PARASITE นี่ผมรู้สึกสงบ รู้สึกสนุก ได้ตั้งใจเขียนเรื่องสร้างสรรค์ผลงานออกมา
#20 บทเปลี่ยนได้เสมอ ดราฟท์สุดท้ายจะเสร็จก็เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการโพสต์โปรดัคชั่น
กับเรื่อง PARASITE นี่ผมไม่ได้มีหลายดราฟท์นะ เราเริ่มถ่ายทำกับที่บทเวอร์ชั่น 2.2 ก็คือเป็นบทดราฟท์ 2 ที่มีแก้ไขเล็กน้อย ในหนังจะมีฉากโรงยิมที่คนพ่อเอามือปิดหน้าพูดออกมาว่า แผนการที่ดีที่สุดก็คือการไม่มีแผน ตรงนี้ผมเติมเข้ามาแทบจะตอนายสุดเลย มันเป็นโมโนล็อก(บทพูดยาวคนเดียว) ที่ยาว ก็เลยทำให้กลายเป็นบทเวอร์ชั่น 2.2
และเพราะว่าผมเขียนสตอรี่บอร์ดเอง ระหว่างที่วาดสตอรี่บอร์ด ผมก็จะเปลี่ยนบทพูด เปลี่ยนประโยค และก็ทำทุกอย่างเองหมดเลย โพสต์โปรดัคชั่นก็แล้ว อัด ADR ก็แล้ว ผมก็ยังจะมีบทเพิ่มเติมเข้ามาให้นักแสดงอยู่ ดังนั้น กว่าจะรู้สึกว่าบทภาพยนตร์เสร็จได้อย่างใจจริงๆ ก็คือหลังจบโพสต์โปรดัคชั่นครับ
#21 ตั้งชื่อหนังให้อธิบายเรื่องราว แต่ก็ต้องให้ฝ่ายการตลาดเห็นชอบด้วย
ฝ่ายการตลาดไม่ชอบชื่อหนัง PARASITE เลยครับ เค้าบอกว่าใช้ชื่อนี้มันเสี่ยงไปนะ ผมก็ว่า ได้สิ ผมรับฟัง เสนอชื่อใหม่เข้ามาได้เลย
ทีนี้ทีมการตลาดก็พยายามอยู่หลายเดือน สรรหาชื่ออื่นกันมา แล้วก็โทรมาบอกผมว่า เรามาใช้ชื่อ PARASITE กันเถอะ
แต่ผมก็อธิบายให้ทีมฟังไปนะว่า หนังเรื่องนี้ไม่ได้แค่อยากจะสื่อว่าครอบครัวบ้านจนเป็นปรสิตน่ะ ชีวิตจริงมันไม่ง่ายขนาดนั้นหรอก บ้านรวยก็เป็นปรสิต ผมเองก็เป็นปรสิต ผมต้องให้เหตุผลกับทีมการตลาดได้ว่าทำไมถึงคิดว่าชื่อเรื่องนี้เข้าท่าที่สุด
ถ้าเรามองครอบครัวบ้านรวยในหนัง พวกเขาก็เป็นปรสิตเหมือนกัน พวกเขาอาศัยแรงที่คนบ้านจนทำงานให้ พวกเขาก็เกาะกินครอบครัวบ้านจนเหมือนกันในแง่แรงงาน เพราะคนบ้านรวยไม่ล้างจานเอง ไม่ขับรถเอง ในแง่นี้ พวกเขาก็เป็นปรสิตเหมือนกัน แลผมว่าประเด็นนี้ก็ชัดมากนะถ้าคุณดูหนังแล้ว
#22 อย่าใช้วิธีเชื่อมช่องว่างของแต่ละซีเควนซ์ แต่ให้วางพล็อตกับตัวละครให้แน่น แล้วปล่อยให้เรื่องราวดำเนินไปเอง
ผมคิดว่าในระหว่างที่เราเขียนเพื่อมุ่งหน้าไปยังตอนจบ ระหว่างทางก็ไม่ใช่อะไรที่เราจะไปกะเกณฑ์มันได้ มันมีจักรวาลเล็กๆ อยู่ในนั้นที่เรื่องราวจะเปิดเผยออกมาเอง เหมือนกับลูกหมาตัวเล็กๆ คุณสามารถปล่อยสายจูงได้ แล้วเจ้าหมาน้อยก็จะวิ่งไปเอง ส่วนคุณก็แค่วิ่งตามไป
เวลาเกิดจังหวะแบบนี้ผมจะแฮปปี้มาก เพราะว่าผมได้วางปัจจัยของตัวละครกับพล็อตไว้หมดแล้ว ผมใส่เครื่องไม้เครื่องมือลงไปไว้ให้หมดแล้ว พอออกตัวจากจุดสตาร์ทได้ ก็เหมือนนาฬิกาสวิสที่มันจะเดินไปเอง ผมสบายๆ เลย มุ่งหน้าเขียนไปหาตอนจบ ที่ทำก็คือแต่งนั้นเติมนี่นิดหน่อยเพื่อให้เรื่องออกมาเข้าท่า พอเรื่องมันออกมาเข้าท่า ผมก็พอใจมาก
ฝ่ายการตลาดไม่ชอบชื่อหนัง PARASITE เลยครับ เค้าบอกว่าใช้ชื่อนี้มันเสี่ยงไปนะ ผมก็ว่า ได้สิ ผมรับฟัง เสนอชื่อใหม่เข้ามาได้เลย
ทีนี้ทีมการตลาดก็พยายามอยู่หลายเดือน สรรหาชื่ออื่นกันมา แล้วก็โทรมาบอกผมว่า เรามาใช้ชื่อ PARASITE กันเถอะ
แต่ผมก็อธิบายให้ทีมฟังไปนะว่า หนังเรื่องนี้ไม่ได้แค่อยากจะสื่อว่าครอบครัวบ้านจนเป็นปรสิตน่ะ ชีวิตจริงมันไม่ง่ายขนาดนั้นหรอก บ้านรวยก็เป็นปรสิต ผมเองก็เป็นปรสิต ผมต้องให้เหตุผลกับทีมการตลาดได้ว่าทำไมถึงคิดว่าชื่อเรื่องนี้เข้าท่าที่สุด
ถ้าเรามองครอบครัวบ้านรวยในหนัง พวกเขาก็เป็นปรสิตเหมือนกัน พวกเขาอาศัยแรงที่คนบ้านจนทำงานให้ พวกเขาก็เกาะกินครอบครัวบ้านจนเหมือนกันในแง่แรงงาน เพราะคนบ้านรวยไม่ล้างจานเอง ไม่ขับรถเอง ในแง่นี้ พวกเขาก็เป็นปรสิตเหมือนกัน แลผมว่าประเด็นนี้ก็ชัดมากนะถ้าคุณดูหนังแล้ว
#22 อย่าใช้วิธีเชื่อมช่องว่างของแต่ละซีเควนซ์ แต่ให้วางพล็อตกับตัวละครให้แน่น แล้วปล่อยให้เรื่องราวดำเนินไปเอง
ผมคิดว่าในระหว่างที่เราเขียนเพื่อมุ่งหน้าไปยังตอนจบ ระหว่างทางก็ไม่ใช่อะไรที่เราจะไปกะเกณฑ์มันได้ มันมีจักรวาลเล็กๆ อยู่ในนั้นที่เรื่องราวจะเปิดเผยออกมาเอง เหมือนกับลูกหมาตัวเล็กๆ คุณสามารถปล่อยสายจูงได้ แล้วเจ้าหมาน้อยก็จะวิ่งไปเอง ส่วนคุณก็แค่วิ่งตามไป
เวลาเกิดจังหวะแบบนี้ผมจะแฮปปี้มาก เพราะว่าผมได้วางปัจจัยของตัวละครกับพล็อตไว้หมดแล้ว ผมใส่เครื่องไม้เครื่องมือลงไปไว้ให้หมดแล้ว พอออกตัวจากจุดสตาร์ทได้ ก็เหมือนนาฬิกาสวิสที่มันจะเดินไปเอง ผมสบายๆ เลย มุ่งหน้าเขียนไปหาตอนจบ ที่ทำก็คือแต่งนั้นเติมนี่นิดหน่อยเพื่อให้เรื่องออกมาเข้าท่า พอเรื่องมันออกมาเข้าท่า ผมก็พอใจมาก
nananatte
17.02.2020
ป.ล. โพสต์นี้ทำเป็น podcast แล้ว ใครสนใจตามไปฟัง sit down and write podcast ได้ที่ apple podcasts, google podcasts, spotify, podbean และ CastBox ค่ะ (^___^)v
Source:
Screenwriters' Lecture Series 2019: Bong Joon-ho
http://www.bafta.org/media-centre/transcripts/screenwriters-lecture-series-2019-bong-joon-ho
17.02.2020
ป.ล. โพสต์นี้ทำเป็น podcast แล้ว ใครสนใจตามไปฟัง sit down and write podcast ได้ที่ apple podcasts, google podcasts, spotify, podbean และ CastBox ค่ะ (^___^)v
Source:
Screenwriters' Lecture Series 2019: Bong Joon-ho
http://www.bafta.org/media-centre/transcripts/screenwriters-lecture-series-2019-bong-joon-ho
Writer
nananatte
storyteller
จัด sit down and write podcast
รีวิวหนังสือใน goodreads
เขียนโพสต์ใน storylog
ลงนิยายใน fictionlog กับ readawrite
เป็นคนทั่วไป ใช้ชีวิตเรียบๆ ในเมืองเล็กๆ
ชอบแมว เครื่องเขียน และกาแฟดำ