
ก่อนที่จะบริหารเงินที่เหลือให้มาช่วยสร้างผลตอบแทน
คนจำนวนมากกลับต้องบริหารเงินที่ขาด หรือ "หนี้สิน"
เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
ดังนั้นเรามาดูว่าจะจัดการกับ "หนี้สิน" ให้อยู่หมัดได้อย่างไร?
1.หนี้ที่ควรมีเพียงอย่างเดียวคือหนี้ค่าผ่อนบ้าน
หนี้ค่าผ่อนบ้านหรือคอนโดมีเนียมเพื่อการอยู่อาศัยนับว่าเป็นหนี้ที่ดี เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต และเราก็ประหยัดค่าเช่า เพราะการจ่ายค่าผ่อนบ้านก็เปรียบเสมือนการจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัยของตนเอง เมื่อจ่ายครบหลักทรัพย์นี้ก็เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา แต่ควรมีภาระการชำระไม่เกิน 20% ของรายได้ของเรา
2.ชำระหนี้เต็มจำนวนในการผ่อนหนี้อื่น ๆ
2.1หนี้รถยนต์ วิธีการซื้อรถยนต์ที่ถูกต้องคือ การซื้อด้วยเงินสด หรือการซื้อรถยนต์ที่ใช้เงินเก็บของเราไปวางเงินดาวน์จำนวนหนึ่ง แต่ได้รับสิทธิ์ผ่อน 0% ตลอดระยะเวลาของสัญญา เราไม่ควรต้องจ่ายดอกเบี้ยในการซื้อรถยนต์เพราะจะเป็นภาระที่หนักในการหาเงินมาจ่ายเป็นระยะเวลานาน
2.2หนี้ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์มือถือ Smartphone โทรทัศน์ ตู้เย็น รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ เครื่องซักผ้า ฯลฯ วิธีการที่ถูกต้องก็คือการซื้อด้วยเงินสดหรือการซื้อด้วยการผ่อนชำระดอกเบี้ย 0% เราไม่ควรซื้อข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ด้วยการจ่ายดอกเบี้ย เพราะจะเป็นการเริ่มสร้าง "ความคุ้นชิน" ในการนำเงินในอนาคตมาจ่ายในปัจจุบันและมันจะพอกพูนเพิ่มขึ้นทำให้เป็นภาระหนักในอนาคต และการมีภาระการผ่อนชำระหนี้แบบนี้รวมกันทุกอย่างไม่ควรเกิน 15% ของรายได้ของเรา
โดยหลักการแล้วเราไม่ควรมีภาระหนี้เกิน 35% ของรายได้ กฏการควบคุมตนเองในการบริหารหนี้ให้อยู่ในสัดส่วนที่ดีนี้จะช่วยชีวิตของเราทั้งในด้านการเงินและด้านอื่นๆ ให้มีความราบรื่นต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
3.หนี้บัตรเครดิต
ปัจจุบันนี้การเป็นหนี้บัตรเครดิตเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนวัยทำงานในประเทศไทย เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจ และใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องจากการมีบัตรเครดิต
คนวัยทำงานที่มีความรับผิดชอบครอบครัว ขยันทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว แต่ก็อาจมีหนี้สินระยะสั้นต่อเดือนหลายหมื่นบาท(หรือเป็นแสนบาท) ที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยระดับ 20% ต่อปีขึ้นไป นั่นคือ หนี้บัตรเครดิตนั่นเอง
สำหรับหนี้บัตรเครดิต คนที่หมุนเงินเพื่อจ่ายบัตรเครดิตจะมีลักษณะร่วมคล้าย ๆ กันคือ
-มีบัตรเครดิตมากกว่า 1 บัตร และ
-มีอย่างน้อย 1 บัตรที่ชำระเพียงขั้นต่ำในแต่ละเดือนซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยทบต้นทำงานทั้งในยามที่เขาหลับหรือตื่น และมักจะลามไปเป็นจ่ายขั้นต่ำใบที่ 2 , 3 มีมูลหนี้เพิ่มขึ้น ๆ เรื่อย ๆ เขาเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายประจำที่มากอยู่แล้ว มักจะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเลี้ยงดูลูกและอื่น ๆ ดูเหมือนว่ารายได้ที่หามาไม่ค่อยเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
-มูลหนี้จากบัตรเครดิตก็เติบโตมากยิ่งขึ้น
การบริหารจัดการหนี้บัตรเครดิต
1. ท่านไม่ควรออมหรือลงทุนใด ๆ หากยังไม่สามารถตัดค่าใช้จ่ายที่มีอัตราดอกเบี้ยระดับ 20 % ต่อปี เหตุผลง่าย ๆ คือ เราหาผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับ 20 % ต่อปีได้ยากมาก ๆ ถ้ามีเงินเหลือเท่าไรให้นำมาโปะจ่ายยอดค้างชำระบัตรเครดิตดีกว่า
2. ความสำคัญเร่งด่วนคือ การลดหนี้บัตรเครดิตลงให้เหลือเป็นศูนย์เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จะชอบหรือไม่ก็ต้องทำ เพราะเมื่อสร้างสถานการณ์นี้ขึ้นมาได้ก็ต้องหาทางออกให้ได้
3. ให้รวมหนี้บัตรที่ต้องชำระขั้นต่ำเหลือเพียงบัตรเดียวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในบัตรทุกใบและให้ยกเลิก(หรือตัด)บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไปเสีย
4. ให้เหลือบัตรเครดิตที่จำเป็นต้องใช้เพียง 1 ใบก็เพียงพอ และจะซื้อของอะไรก็ตามให้เลือก "จ่ายเป็นเงินสดเป็นอันดับแรก" ถ้าไม่มีเงินก็อย่าเพิ่งซื้อ รอสะสมเงินสดให้ครบแล้วค่อยซื้อ
5. หากจำเป็นต้องใช้เงินต้องมาจากบัญชีออมทรัพย์หรือเงินสภาพคล่องอื่น ๆ และถ้ามีเหตุผลพอ จำเป็นอย่างที่สุด การขายทรัพย์สินส่วนตัวเช่นทองคำ สลากออมสิน สลาก ธกส.หรือกู้มูลค่ากรมธรรม์ประกันชีวิต(ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 6-8%ต่อปี) มาปิดยอดหนี้บัตรเครดิตก็อาจเป็นทางเลือกแรก ๆ ที่ต้องตัดสินใจทำ(เหมือนรีไฟแนนซ์ด้วยตัวเอง) แต่ไม่ควรยกเลิกกรมธรรม์เพราะหากเกิดเหตุในชีวิตที่ไม่คาดฝันก็จะเป็นภาระใหญ่ให้คนในครอบครัว
6. เมื่อได้ดำเนินการต่าง ๆ จนมีสภาพหนี้บัตรเครดิตเป็นศูนย์แล้ว ให้จดจำให้ขึ้นใจว่า บัตรเครดิตมีเอาไว้ใช้เพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิตเท่านั้น ใช้เท่าไหร่ต้องจ่ายเต็ม 100 % ที่ใช้ไปในแต่ละเดือน หากทำได้แล้วการวางแผนการเงินด้านอื่น ๆ ก็จะง่ายขึ้นเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองและครอบครัว
เมื่อเราบริหารจัดการหนี้สินให้อยู่ในสัดส่วนที่ยอมรับได้ สมดุลกับรายได้ รายจ่าย หากใช้บัตรเครดิตก็สามารถชำระได้เต็มจำนวนทุกงวด และสามารถมีเงินเหลือจนสามารถบริหารจัดการให้มีความมั่งคั่งได้ เราจะเริ่มต้นสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีจากเรื่องใดบ้าง?
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
>>หนังสือดิจิทัลที่นี่ครับ
เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปช่วยชาติ’
หากซื้อโดยใช้รหัส AIS ราคา 159 บาทเท่านั้น
http://www.ookbee.com/Shop/Book/046e060e-766c-4b9d-a267-5e9ecf8e22ae
คนจำนวนมากกลับต้องบริหารเงินที่ขาด หรือ "หนี้สิน"
เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
ดังนั้นเรามาดูว่าจะจัดการกับ "หนี้สิน" ให้อยู่หมัดได้อย่างไร?
1.หนี้ที่ควรมีเพียงอย่างเดียวคือหนี้ค่าผ่อนบ้าน
หนี้ค่าผ่อนบ้านหรือคอนโดมีเนียมเพื่อการอยู่อาศัยนับว่าเป็นหนี้ที่ดี เป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต และเราก็ประหยัดค่าเช่า เพราะการจ่ายค่าผ่อนบ้านก็เปรียบเสมือนการจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัยของตนเอง เมื่อจ่ายครบหลักทรัพย์นี้ก็เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา แต่ควรมีภาระการชำระไม่เกิน 20% ของรายได้ของเรา
2.ชำระหนี้เต็มจำนวนในการผ่อนหนี้อื่น ๆ
2.1หนี้รถยนต์ วิธีการซื้อรถยนต์ที่ถูกต้องคือ การซื้อด้วยเงินสด หรือการซื้อรถยนต์ที่ใช้เงินเก็บของเราไปวางเงินดาวน์จำนวนหนึ่ง แต่ได้รับสิทธิ์ผ่อน 0% ตลอดระยะเวลาของสัญญา เราไม่ควรต้องจ่ายดอกเบี้ยในการซื้อรถยนต์เพราะจะเป็นภาระที่หนักในการหาเงินมาจ่ายเป็นระยะเวลานาน
2.2หนี้ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรศัพท์มือถือ Smartphone โทรทัศน์ ตู้เย็น รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ เครื่องซักผ้า ฯลฯ วิธีการที่ถูกต้องก็คือการซื้อด้วยเงินสดหรือการซื้อด้วยการผ่อนชำระดอกเบี้ย 0% เราไม่ควรซื้อข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ด้วยการจ่ายดอกเบี้ย เพราะจะเป็นการเริ่มสร้าง "ความคุ้นชิน" ในการนำเงินในอนาคตมาจ่ายในปัจจุบันและมันจะพอกพูนเพิ่มขึ้นทำให้เป็นภาระหนักในอนาคต และการมีภาระการผ่อนชำระหนี้แบบนี้รวมกันทุกอย่างไม่ควรเกิน 15% ของรายได้ของเรา
โดยหลักการแล้วเราไม่ควรมีภาระหนี้เกิน 35% ของรายได้ กฏการควบคุมตนเองในการบริหารหนี้ให้อยู่ในสัดส่วนที่ดีนี้จะช่วยชีวิตของเราทั้งในด้านการเงินและด้านอื่นๆ ให้มีความราบรื่นต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
3.หนี้บัตรเครดิต
ปัจจุบันนี้การเป็นหนี้บัตรเครดิตเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนวัยทำงานในประเทศไทย เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ เข้าใจ และใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องจากการมีบัตรเครดิต
คนวัยทำงานที่มีความรับผิดชอบครอบครัว ขยันทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว แต่ก็อาจมีหนี้สินระยะสั้นต่อเดือนหลายหมื่นบาท(หรือเป็นแสนบาท) ที่ต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยระดับ 20% ต่อปีขึ้นไป นั่นคือ หนี้บัตรเครดิตนั่นเอง
สำหรับหนี้บัตรเครดิต คนที่หมุนเงินเพื่อจ่ายบัตรเครดิตจะมีลักษณะร่วมคล้าย ๆ กันคือ
-มีบัตรเครดิตมากกว่า 1 บัตร และ
-มีอย่างน้อย 1 บัตรที่ชำระเพียงขั้นต่ำในแต่ละเดือนซึ่งจะทำให้อัตราดอกเบี้ยทบต้นทำงานทั้งในยามที่เขาหลับหรือตื่น และมักจะลามไปเป็นจ่ายขั้นต่ำใบที่ 2 , 3 มีมูลหนี้เพิ่มขึ้น ๆ เรื่อย ๆ เขาเหล่านี้มีค่าใช้จ่ายประจำที่มากอยู่แล้ว มักจะผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าเลี้ยงดูลูกและอื่น ๆ ดูเหมือนว่ารายได้ที่หามาไม่ค่อยเพียงพอต่อค่าใช้จ่าย
-มูลหนี้จากบัตรเครดิตก็เติบโตมากยิ่งขึ้น
การบริหารจัดการหนี้บัตรเครดิต
1. ท่านไม่ควรออมหรือลงทุนใด ๆ หากยังไม่สามารถตัดค่าใช้จ่ายที่มีอัตราดอกเบี้ยระดับ 20 % ต่อปี เหตุผลง่าย ๆ คือ เราหาผลตอบแทนจากการลงทุนในระดับ 20 % ต่อปีได้ยากมาก ๆ ถ้ามีเงินเหลือเท่าไรให้นำมาโปะจ่ายยอดค้างชำระบัตรเครดิตดีกว่า
2. ความสำคัญเร่งด่วนคือ การลดหนี้บัตรเครดิตลงให้เหลือเป็นศูนย์เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จะชอบหรือไม่ก็ต้องทำ เพราะเมื่อสร้างสถานการณ์นี้ขึ้นมาได้ก็ต้องหาทางออกให้ได้
3. ให้รวมหนี้บัตรที่ต้องชำระขั้นต่ำเหลือเพียงบัตรเดียวที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในบัตรทุกใบและให้ยกเลิก(หรือตัด)บัตรเครดิตที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไปเสีย
4. ให้เหลือบัตรเครดิตที่จำเป็นต้องใช้เพียง 1 ใบก็เพียงพอ และจะซื้อของอะไรก็ตามให้เลือก "จ่ายเป็นเงินสดเป็นอันดับแรก" ถ้าไม่มีเงินก็อย่าเพิ่งซื้อ รอสะสมเงินสดให้ครบแล้วค่อยซื้อ
5. หากจำเป็นต้องใช้เงินต้องมาจากบัญชีออมทรัพย์หรือเงินสภาพคล่องอื่น ๆ และถ้ามีเหตุผลพอ จำเป็นอย่างที่สุด การขายทรัพย์สินส่วนตัวเช่นทองคำ สลากออมสิน สลาก ธกส.หรือกู้มูลค่ากรมธรรม์ประกันชีวิต(ที่มีอัตราดอกเบี้ยเพียง 6-8%ต่อปี) มาปิดยอดหนี้บัตรเครดิตก็อาจเป็นทางเลือกแรก ๆ ที่ต้องตัดสินใจทำ(เหมือนรีไฟแนนซ์ด้วยตัวเอง) แต่ไม่ควรยกเลิกกรมธรรม์เพราะหากเกิดเหตุในชีวิตที่ไม่คาดฝันก็จะเป็นภาระใหญ่ให้คนในครอบครัว
6. เมื่อได้ดำเนินการต่าง ๆ จนมีสภาพหนี้บัตรเครดิตเป็นศูนย์แล้ว ให้จดจำให้ขึ้นใจว่า บัตรเครดิตมีเอาไว้ใช้เพื่อความสะดวกในการดำเนินชีวิตเท่านั้น ใช้เท่าไหร่ต้องจ่ายเต็ม 100 % ที่ใช้ไปในแต่ละเดือน หากทำได้แล้วการวางแผนการเงินด้านอื่น ๆ ก็จะง่ายขึ้นเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองและครอบครัว
เมื่อเราบริหารจัดการหนี้สินให้อยู่ในสัดส่วนที่ยอมรับได้ สมดุลกับรายได้ รายจ่าย หากใช้บัตรเครดิตก็สามารถชำระได้เต็มจำนวนทุกงวด และสามารถมีเงินเหลือจนสามารถบริหารจัดการให้มีความมั่งคั่งได้ เราจะเริ่มต้นสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีจากเรื่องใดบ้าง?
(โปรดติดตามตอนต่อไป)
>>หนังสือดิจิทัลที่นี่ครับ
เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปช่วยชาติ’
หากซื้อโดยใช้รหัส AIS ราคา 159 บาทเท่านั้น
http://www.ookbee.com/Shop/Book/046e060e-766c-4b9d-a267-5e9ecf8e22ae
Written in this book
การเงินมั่งคั่ง:ชีวิตดี๊ดีถ้ารู้งี้ตั้งแต่อายุ 25
Writer
ChamnanJ
MDRTiFA Coach ,Invester,Writer
Senior Distric Manager_TEAMCHART AIA
ผมจบการศึกษาด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในระดับปริญญาตรีและโทที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีความสนใจพิเศษในด้านนิเทศศาสตร์และจิตวิทยา
เริ่มต้นทำงานในด้านการฝึกอบรมตัวแทนที่ AIA รวมทั้งฝ่ายบริหารตัวแทน
ตำแหน่งสุดท้ายคือผู้อำนวยการตัวแทน
เมื่อลาออกมาเป็นผู้บริหารทีมงานขายก็ได้ทำหน้าที่ด้านการฝึกอบรมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
จาก Trainnng Advisor,Premier Agency Trainning
งานในฐานะ Moderator เริ่มต้นเมื่อปี 2551 ในหลักสูตรของ Limra's Crossroad และ
โดยเฉพาะ Agency Management Trainning Course (AMTC 23 ครั้ง)
เมื่อมารับผิดชอบ Sales Builder ผมก็นำมาใช้กับกลุ่ม MDRT และประสบความสำเร็จอย่างมากที่เชียงใหม่
มีตัวแทน MDRT 3 คนในปีแรก 6,8,10 และ16 คนในปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันทำหน้าที่ผู้ดำเนินการสัมมนาหลักสูตร High Trust Financial Advisor
เพื่อมอบตัวแทนนักวางแผนการเงินอิสระให้สามารถช่วยลูกค้าได้อย่างเป็นมืออาชีพและมีจรรยาบรรณ
งานเขียนส่วนใหญ่เขียนจากประสบการณ์ตรงจากตนเองและประสบการณ์ของ คุณรัตนา กมลงามพิพัฒน์
7MDRT,FchFP,RFC ผู้ซึ่งมีอายุการทำงานเป็นตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินมากว่า 29ปี
และได้วางแผนการเงินส่วนบุคคลให้ลูกค้าแล้วจำนวนมาก
ได้รับรางวัล Prime Minister's insurance Award ติดต่อกัน 7ปี 2553-2558,2561
จากนายกรัฐมนตรีไทย (คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร,พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
ภาพประกอบการเขียนส่วนใหญ่นำมาจากอินเตอร์เน็ตขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
งานเขียนแรกเริ่มต้นเดือนเมษายนเป็นต้นมาในหนังสือที่ใช้ชื่อว่า
" สร้างนิสัย MDRT ได้ใน 10 สัปดาห์" และเดือนพฤศจิกายน
เรื่อง "การเงินมั่งคั่ง:ชีวิตดี๊ดีถ้ารู้อย่างนี้ตั้งแต่อายุ 25"
โดยเป็นบทความเกี่ยวกับแนวคิด ความรู้สึกและนิสัยของคนที่ประสบความสำเร็จ
รวมทั้งทิปเกี่ยวกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ทำได้จริงในภาคปฎิบัติ
หากเพื่อนๆ มีข้อแนะนำเชิญ Inbox มาได้เลยครับ
ขอขอบคุณผู้สร้าง Storylog และเหล่านักเขียนทั้งหลายที่สร้างที่ที่พวกเราได้มารู้จักกันผ่านตัวหนังสือ