
ช่วงนี้ได้ฟังปัญหาและข้อมูลเรื่องสังคมสูงอายุจากหลายๆที่ (ทั้งเวบไซต์ และpodcast)
เลยเกิดสนใจลองมานั่งหาข้อมูลดูเองว่า
จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไร
มันหนักหนาอย่างที่เขาพูดกันไหม
ทำไมหลายๆสถาบันการศึกษา ถึงพร้อมใจกันมาบอกว่านักเรียนหายไป
แล้วตลาดแรงงานถึงบ่นว่าคนทำงานหายากเสียเหลือเกิน
ผมนั่ง search ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ
แล้วเจอข้อมูลจำนวนประชากรแยกรายอายุ ทั่วประเทศ
ของเดือนธันวาคมปี 2561 มีหลายมุมที่น่าสนใจดี
ลองมานั่งทำตัวอย่างเล่นๆตามตัวเลขว่าน่าจะเกิดอะไรขึ่้นบ้าง
ถ้าตัวเลขนั้นมันสะท้อนสิ่งที่กำลังจะเป็นได้จริงๆ
(*) หมายเหตุว่า สิ่งที่กำลังจะเล่าต่อไปนี้ คือ ความคิดเห็นส่วนตัวของผมคนเดียว
ซึ่งผมจะ based จากสมมุติฐานที่ว่า ถ้าอนาคตอีกหลายปี
แล้วโครงสร้างประชากรยังเป็นแบบนี้อยู่ จะเกิดอะไรขึ้น
(โดยอัตราการตายระหว่างช่วงอายุต้องไม่แตกต่างกันมาก
ยกเว้นคนที่ช่วงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป)
ก่อนอื่น เราสมมติว่าในปี 61
เรามีประชากรตัวอย่างอยู่ 4 คน
เด็กชายเปา อายุ 1 ขวบ
เด็กหญิงนาเดีย อายุ 13 ปี
สาวน้อยอีฟ อายุ 21 ปี
และคุณลุงธี อายุ 36 ปี
(ระยะห่างของแต่ละคน คือ ประเด็นที่น่าสนใจในโครงสร้างประชากรไทย)
ข้อมูลชุดแรกของสาระสำคัญก็คือ
เด็กชายเปามีเพื่อนร่วมช่วงอายุเดียวกันอยู่ประมาณ 650,000 คน
เด็กหญิงนาเดียมีเพื่อนร่วมอายุอยู่ ~ 800,000 คน
สาวน้อยอีฟมีเพื่อนร่วมอายุอยู่ ~ 960,000 คน
และลุงธีมีเพื่อนร่วมอายุอยู่ ~ 1,000,000 คน
อาจยังฟังดูไม่มีอะไร แต่ให้ลองคิดเล่นๆ
ว่าถ้าหากเวลาผ่านไปอีกซัก 25 ปี
(โดยที่สมมติว่าโครงสร้างประชากรทุกช่วงอายุยังไม่เปลี่ยนไป
หรือทุกช่วงมีอัตราการเสียชีวิตพอๆกัน)
ถึงตอนนั้น..
ลุงธีจะกลายเป็นคุณปู่ธีที่กำลังเกษียณอายุออกจากตลาดแรงงาน
(สมมติคร่าวๆเอาว่า แรงงานจะหายออกไปจากตลาดทั้งหมด 1 ล้านตำแหน่ง)
ในขณะที่เด็กๆรุ่นเด็กชายเปาที่เพิ่งเริ่มทำงานได้ไม่นาน
ก็เข้ามาทดแทนในตลาดแรงงานด้วยกำลังคนแค่ ~ 6 แสนตำแหน่ง
ถ้าคิดง่ายๆ จะเห็นว่าแรงงานในตลาดอาจหายไปถึง 40% !!!
ซึ่งแม้ตัวเลขนี้จะหยาบไป แต่มันกำลังจะสะท้อนทิศทางที่กำลังจะเกิดขึ้น
แรงงานในอนาคตที่จะมาทดแทนตำแหน่งงานในปัจจุบัน จะไม่เพียงพออีกต่อไป
ยังไม่นับรวมถึงตลาดแรงงานนั้นต้องการคนที่มีทักษะใหม่ๆ
สำหรับการแข่งขันสูงขึ้นในอนาคตทั้งทักษะจากคนด้วยกัน
และจากหุ่นยนต์ที่เริ่มทำงานบางอย่างได้ดีกว่ามนุษย์มากๆ
ในราคาค่าดูแลรักษาที่ต่ำและไม่มีปัญหาจุกจิกสำหรับนายจ้าง
และทำงานได้ตลอดเวลา
ค่าแรงของเด็กชายเปาน่าจะถีบตัวขึ้นสูงขึ้นกว่านี้มาก
ถ้าหากเขาทำงานได้ดีกว่าหุ่นยนต์
และไม่มีใครจ้างเขาเลย ถ้าเขาทำงานแพ้หุ่นยนต์
(หรือถ้าจ้างก็ได้ค่าแรงต่ำมากๆเพื่อให้คุ้มที่จะไม่ใช้หุ่นยนต์)
ส่วนลุงธีที่กำลังเกษียณนั้น อาจจะต้องเริ่มหาคนมาช่วยดูแลยามเจ็บป่วย
และค่าพยาบาลที่เป็นคนนั้นอาจจะแพงมาก และยังมีปัญหาความไว้ใจ
ถึงตอนนั้น บริการหุ่นยนต์อาจเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้พอดี
...
ในขณะเดียวกัน
สาวน้อยนาเดีย ก็จะกลายเป็นสาวมั่น
ในช่วงอายุประมาณ 38 ปี (13 + 25)
นาเดียก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่กำลังเป็นแรงงานหลักสำคัญที่มีทักษะสูง
เป็นกำลังสำคัญในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆในประเทศ
และอาจจะรวมถึงกำลังอยู่ในช่วงสร้างครอบครัวใหม่อีกด้วย
แต่สถานการณ์ของตลาดในวันนั้น
อาจจะเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายหลักไปจากตลาดของเด็กหรือวัยรุ่น
ไปเป็นกลุ่มลุง(ปู่)ธี ที่จำนวนประชากรใหญ่กว่าช่วงอายุไหนๆมาก
รวมทั้งกำลังซื้อที่มีสูงลิบ เพราะทำงานไปจนถึงสูงสุดหมดแล้ว
(แน่นอนว่าจะมีบางกลุ่มที่อาจจะแก่และไม่มีกำลังซื้อเลยเช่นกัน)
สินค้ากลุ่มเด็ก รวมถึงของเล่นก็อาจจะไม่แมสเท่ายุคสมัยที่ลุงธียังเด็กๆ
สินค้ากลุ่มสุขภาพ ยาและบริการทางการพยาบาลอาจจะขึ้นพีค
ในสังคมผู้สูงอายุเต็มขั้น รวมถึงบริการใหม่ๆเช่น
เซนเซอร์วัดค่าต่างๆของผู้ป่วย จนถึง
เครื่องพิมพ์ที่สามารถผสมและปรุงอาหารอาจกลายมาเป็นสินค้าที่ราคาจับต้องได้
และใช้กันทั่วบ้านเหมือนไมโครเวฟในปัจจุบัน
รูปแบบการหารักษาพยาบาลในอนาคตอาจเปลี่ยนไป
จากการต่อคิวเข้ารักษาพยาบาลเป็นรับอุปกรณ์ไปติดตัวผู้ป่วย
แล้วส่งข้อมูลไปให้ระบบ ai ของโรงพยาบาล
หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ซักสองเจ้าทำการวิเคราะห์
เมื่อได้ผลวิเคราะห์จึง video call เพื่อให้คุณหมอวินัจฉัยเพิ่มเติม
ก่อนจะส่งต่อไปทำการรักษาต่อไป
ในขณะที่หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยที่คอยดูแล (อาจอยู่ในรูปของสุนัข/แมว)
ที่สามารถเข้าใจคำพูด อารมณ์จากสีหน้าของผู้ป่วย
และตอบสนองเพื่อช่วยดูแลรักษาระดับสภาวะอารมณ์
และเป็นเพื่อนของมนุษย์ยามเหงาได้ดีไม่แพ้นักจิทยาในอดีต
จากโปรแกรมที่ถูกตั้งไว้ล่วงหน้าสำหรับคนไข้แต่ละคน
(หมายเหตุ: ในปี 2562 หุ่นยนต์ Sophia จาก Hanson Robotics
สามารถทำความเข้าใจสีหน้า อารมณ์ และคำพูดของมนุษย์ได้ดีมากแล้ว)
และคนสุดท้าย..
คุณป้าอีฟ
ที่กำลังมีอายุอยู่ ~ 46 ปี (21 + 25)
ก็จะอยู่ท่ามกลางความกดดันจากทั้งสอง generation ของปู่ธีและนาเดีย
ที่ตลาดแรงงานหดตัวลงเรื่อยๆ และอาจจะส่งผลอ้อมๆให้เศรษฐกิจไม่โตขึ้น
ประกอบกับขาดแรงงานรุ่นใหม่มาเสริม หรือถูกคนรุ่นถัดไปก้าวข้ามไป
ด้วยทักษะที่สูงกว่าและปรับตัวไม่ทันจากกระแสเทคโนโลยีหุ่นยนต์
ที่ถูกเร่งให้นำมาใช้เพื่อทดแทนแรงงานคนที่หดหายไปในแต่ละปี
คนกลุ่มป้าอีฟอาจพบความเครียดสูงกว่ารุ่นอื่นๆ
เมื่อมองเห็นว่าอนาคต มนุษย์อาจอายุยืนขึ้นจากวิทยาการใหม่ๆทางการแพทย์
แต่สภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ไม่เอื้อให้ป้าอีฟมั่งคั่งก่อนจะเข้าสู่สภาวะสูงอายุ
อย่างที่อยากจะเป็น
อาจมีธุรกิจใหม่ๆจากการทำบ้าน/คอนโด ที่พักสำหรับผู้สูงอายุแบบเช่าระยะยาว
เมื่อสิ้นอายุแล้วถูกหมุนเวียนไปให้บริการคนรุ่นต่อไป เพื่อง่ายต่อการจัดการ
มากขึ้นและสิ้นเปลืองทรัพยากรในการดูแลรักษาน้อยลง ด้วยการรวมผู้สูงอายุ
ไว้ที่เดียวกัน แล้วทำบรรยากาศให้เหมือนรีสอร์ตสำหรับการพักผ่อน
แต่อีกหนึ่งปัญหาที่เป็นไปได้คือ
ไม่ใช่ทุกคนในกลุ่มป้าอีฟจะมีทุนเพียงพอที่จะเข้าสู่ที่พักแบบนี้ได้ทุกคน
และคนที่เหลือไม่ได้โชคดีอย่างป้าอีฟที่พอจะมีทุนสำรองพอ
...
..
.
.
คุณอยากเป็นคนไหนดี?
และใช้กันทั่วบ้านเหมือนไมโครเวฟในปัจจุบัน
รูปแบบการหารักษาพยาบาลในอนาคตอาจเปลี่ยนไป
จากการต่อคิวเข้ารักษาพยาบาลเป็นรับอุปกรณ์ไปติดตัวผู้ป่วย
แล้วส่งข้อมูลไปให้ระบบ ai ของโรงพยาบาล
หรือบริษัทยักษ์ใหญ่ซักสองเจ้าทำการวิเคราะห์
เมื่อได้ผลวิเคราะห์จึง video call เพื่อให้คุณหมอวินัจฉัยเพิ่มเติม
ก่อนจะส่งต่อไปทำการรักษาต่อไป
ในขณะที่หุ่นยนต์ดูแลผู้ป่วยที่คอยดูแล (อาจอยู่ในรูปของสุนัข/แมว)
ที่สามารถเข้าใจคำพูด อารมณ์จากสีหน้าของผู้ป่วย
และตอบสนองเพื่อช่วยดูแลรักษาระดับสภาวะอารมณ์
และเป็นเพื่อนของมนุษย์ยามเหงาได้ดีไม่แพ้นักจิทยาในอดีต
จากโปรแกรมที่ถูกตั้งไว้ล่วงหน้าสำหรับคนไข้แต่ละคน
(หมายเหตุ: ในปี 2562 หุ่นยนต์ Sophia จาก Hanson Robotics
สามารถทำความเข้าใจสีหน้า อารมณ์ และคำพูดของมนุษย์ได้ดีมากแล้ว)
และคนสุดท้าย..
คุณป้าอีฟ
ที่กำลังมีอายุอยู่ ~ 46 ปี (21 + 25)
ก็จะอยู่ท่ามกลางความกดดันจากทั้งสอง generation ของปู่ธีและนาเดีย
ที่ตลาดแรงงานหดตัวลงเรื่อยๆ และอาจจะส่งผลอ้อมๆให้เศรษฐกิจไม่โตขึ้น
ประกอบกับขาดแรงงานรุ่นใหม่มาเสริม หรือถูกคนรุ่นถัดไปก้าวข้ามไป
ด้วยทักษะที่สูงกว่าและปรับตัวไม่ทันจากกระแสเทคโนโลยีหุ่นยนต์
ที่ถูกเร่งให้นำมาใช้เพื่อทดแทนแรงงานคนที่หดหายไปในแต่ละปี
คนกลุ่มป้าอีฟอาจพบความเครียดสูงกว่ารุ่นอื่นๆ
เมื่อมองเห็นว่าอนาคต มนุษย์อาจอายุยืนขึ้นจากวิทยาการใหม่ๆทางการแพทย์
แต่สภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ไม่เอื้อให้ป้าอีฟมั่งคั่งก่อนจะเข้าสู่สภาวะสูงอายุ
อย่างที่อยากจะเป็น
อาจมีธุรกิจใหม่ๆจากการทำบ้าน/คอนโด ที่พักสำหรับผู้สูงอายุแบบเช่าระยะยาว
เมื่อสิ้นอายุแล้วถูกหมุนเวียนไปให้บริการคนรุ่นต่อไป เพื่อง่ายต่อการจัดการ
มากขึ้นและสิ้นเปลืองทรัพยากรในการดูแลรักษาน้อยลง ด้วยการรวมผู้สูงอายุ
ไว้ที่เดียวกัน แล้วทำบรรยากาศให้เหมือนรีสอร์ตสำหรับการพักผ่อน
แต่อีกหนึ่งปัญหาที่เป็นไปได้คือ
ไม่ใช่ทุกคนในกลุ่มป้าอีฟจะมีทุนเพียงพอที่จะเข้าสู่ที่พักแบบนี้ได้ทุกคน
และคนที่เหลือไม่ได้โชคดีอย่างป้าอีฟที่พอจะมีทุนสำรองพอ
...
..
.
.
คุณอยากเป็นคนไหนดี?