
มีใครคิดอยากเรียนนิติศาสตร์กันบ้างครับ นิติศาสตร์คือการเรียนกฎหมาย สิ่งที่คุณจะต้องเจอในการเรียนคือ ศัพท์อะไรก็ไม่รู้ที่คนทั่วไปฟังไม่รู้เรื่อง ประโยคแต่ละประโยคที่ไม่สามารถเข้าใจมันได้ในการอ่านรอบเดียว คำพิพากษาที่เว้นวรรคแบบงงๆ ที่บางทีรู้สึกขัดใจ หนังสือเป็นตั้งๆที่ต้องอ่าน ประมวลเล่มหนาที่ต้องท่อง และเมื่อเรียนจบ ( บางคน )ก็ต้องพบเจอกับการสอบเนติบัณฑิตที่สอบมันทุกวิชารวดเดียว เคยมีประโยคที่ว่า “สอบเนเสียเวลา สอบผู้พิพากษาเสียอนาคต” เพราะมันต้องใช้เวลาอ่านหนังสือมากจริงๆเพื่อเตรียมตัวไปสอบให้ผ่าน (ถ้าจะเอาให้ได้อันดับดีๆก็ต้องอ่านหนักกว่าคนอื่น)
อืมมมม แล้วมันน่าเรียนตรงไหนล่ะเนี่ย ถ้าเรียนวิศวะ คุณอาจจะสร้างสิ่งประดิษฐ์ล้ำๆแบบ
Elon Musk ได้ หรือถ้าจบสายคอมพิวเตอร์มา คุณก็มีความรู้ในการเขียนโปรแกรม เขียน App คุณอาจจะเขียน Social App มาแข่งกับ Facebook ได้
แล้วถ้าคุณจบนิติศาสตร์และไม่อยากไปทำราชการ คุณจะได้อะไรจากการเรียนจบ จบแล้วไปทำอะไร
ไม่ใช่ทุกคนที่จบนิติศาสต์แล้วจะไปทำด้านกฎหมาย แต่สิ่งที่ทุกคนที่เรียนจบจะได้รับ นอกจากความสามารถในการอ่านภาษายากๆแล้ว ก็คือการคิดอย่างมีตรรกะ
การคิดอย่างมีตรรกะจะช่วยให้คุณเรียงลำดับเหตุการณ์ได้เห็นภาพง่ายขึ้น เพราะเวลาวินิจฉัยข้อกฎหมาย (เหมือนหมอตรวจโรค) จะดูว่า ใครทำอะไร ทำต่อใคร ผลคืออะไร มีความผิดหรือไม่ มีข้อยกเว้นมั้ย ต้องเอากฎหมายข้อไหนมาปรับใช้
แล้วการคิดอย่างมีตรระกะมันมีอะไรพิเศษอีกมั้ย ?
มันช่วยให้คุณรอดจากจุดเสียเปรียบได้ครับ ถ้าใช้ร่วมกับความสามารถในการเจรจา มันเหมือนเวทมนต์เลยทีเดียว ประมาณว่า มันรอดมาได้ไงวะ
เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ประเทศไทยเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ผู้แพ้จะต้องตกเป็นเมืองขึ้นและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล แต่แล้ว ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ผู้ซึ่งเรียนจบนิติศาสตร์ ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อทำการเจรจากับอังกฤษไม่ให้ประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้น
ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถทางภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบกฎหมายตะวันตก เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร (ฝ่ายที่ชนะ) จนสามารถทำให้ไทยหลุดพ้นจากสถานะผู้แพ้ได้
แต่เรื่องก็ยังไม่จบครับ ทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้ไทยส่งตัวคนไทยที่เป็นอาชญากรสงครามมาทำการลงโทษในต่างประเทศครับ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าถ้าส่งไปจะโดนลงโทษอะไรบ้าง คราวนี้ทำยังไงล่ะ
ท่านเสนีย์ ปราโมชจึงทำการประกาศใช้ พ.ร.บ. อาชญากรสงคราม และทำการลงโทษเหล่าอาชญากรสงครามซะเองก่อนที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมารับตัว
--เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรมาถึง--
สัมพันธมิตร : เรามารับตัวอาชญากรสงครามในประเทศคุณไปลงโทษ
ไทย : ขออภัยด้วย เห็นทีจะไม่ได้ เพราะคุณจะลงโทษคนทำผิดซ้ำสองไม่ได้
สัมพันธมิตร : ซ้ำสอง !? หมายความว่าไง? นี่พึ่งมารับเองนะ
ไทย : เราได้ทำการลงโทษอาชญากรสงครามของเราด้วยกฎหมายในประเทศเราไปแล้ว คุณจะพาไปไม่ได้ มันขัดหลักกฎหมายสากลที่ว่า “ผู้กระทำความผิดจะไม่ได้รับการลงโทษซ้ำในความผิดฐานเดียวกัน”
หลักกฎหมายนี้มีอยู่จริงครับ เป็นหลักที่ใช้กันทั่วโลก ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงไม่สามารถพาตัวคนของเราไปลงโทษได้ ต้องกลับบ้านไปแบบงงๆ
ผมว่าตรงจุดที่ใช้ตรรกะได้ดีก็เป็นจุดเด่นของคนไทยเลยนะครับ เราจึงเก่งเรื่องปรับตัว และไม่ขัดแย้งกับใคร ในขณะที่ประเทศอื่นขัดแย้งกันรุนแรง
ตรรกะไม่ได้เอาไว้ใช่แค่เรื่องเจรจาความขัดแย้ง แต่มันก็นำไปใช้กับการแก้ปัญหาอื่นๆด้วย เพราะการแก้ปัญหาใดๆก็ใช้หลักเดียวกันคือ ต้องลำดับเหตุการณ์ให้ได้และจากนั้นหาวิธีแก้ทีละจุด ทีนี้เราก็สามารถเสกทางออกได้แล้ว
อืมมมม แล้วมันน่าเรียนตรงไหนล่ะเนี่ย ถ้าเรียนวิศวะ คุณอาจจะสร้างสิ่งประดิษฐ์ล้ำๆแบบ
Elon Musk ได้ หรือถ้าจบสายคอมพิวเตอร์มา คุณก็มีความรู้ในการเขียนโปรแกรม เขียน App คุณอาจจะเขียน Social App มาแข่งกับ Facebook ได้
แล้วถ้าคุณจบนิติศาสตร์และไม่อยากไปทำราชการ คุณจะได้อะไรจากการเรียนจบ จบแล้วไปทำอะไร
ไม่ใช่ทุกคนที่จบนิติศาสต์แล้วจะไปทำด้านกฎหมาย แต่สิ่งที่ทุกคนที่เรียนจบจะได้รับ นอกจากความสามารถในการอ่านภาษายากๆแล้ว ก็คือการคิดอย่างมีตรรกะ
การคิดอย่างมีตรรกะจะช่วยให้คุณเรียงลำดับเหตุการณ์ได้เห็นภาพง่ายขึ้น เพราะเวลาวินิจฉัยข้อกฎหมาย (เหมือนหมอตรวจโรค) จะดูว่า ใครทำอะไร ทำต่อใคร ผลคืออะไร มีความผิดหรือไม่ มีข้อยกเว้นมั้ย ต้องเอากฎหมายข้อไหนมาปรับใช้
แล้วการคิดอย่างมีตรระกะมันมีอะไรพิเศษอีกมั้ย ?
มันช่วยให้คุณรอดจากจุดเสียเปรียบได้ครับ ถ้าใช้ร่วมกับความสามารถในการเจรจา มันเหมือนเวทมนต์เลยทีเดียว ประมาณว่า มันรอดมาได้ไงวะ
เมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ประเทศไทยเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ผู้แพ้จะต้องตกเป็นเมืองขึ้นและจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล แต่แล้ว ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ผู้ซึ่งเรียนจบนิติศาสตร์ ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อทำการเจรจากับอังกฤษไม่ให้ประเทศไทยตกเป็นเมืองขึ้น
ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถทางภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบกฎหมายตะวันตก เจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร (ฝ่ายที่ชนะ) จนสามารถทำให้ไทยหลุดพ้นจากสถานะผู้แพ้ได้
แต่เรื่องก็ยังไม่จบครับ ทางฝ่ายสัมพันธมิตรได้เรียกร้องให้ไทยส่งตัวคนไทยที่เป็นอาชญากรสงครามมาทำการลงโทษในต่างประเทศครับ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าถ้าส่งไปจะโดนลงโทษอะไรบ้าง คราวนี้ทำยังไงล่ะ
ท่านเสนีย์ ปราโมชจึงทำการประกาศใช้ พ.ร.บ. อาชญากรสงคราม และทำการลงโทษเหล่าอาชญากรสงครามซะเองก่อนที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะมารับตัว
--เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรมาถึง--
สัมพันธมิตร : เรามารับตัวอาชญากรสงครามในประเทศคุณไปลงโทษ
ไทย : ขออภัยด้วย เห็นทีจะไม่ได้ เพราะคุณจะลงโทษคนทำผิดซ้ำสองไม่ได้
สัมพันธมิตร : ซ้ำสอง !? หมายความว่าไง? นี่พึ่งมารับเองนะ
ไทย : เราได้ทำการลงโทษอาชญากรสงครามของเราด้วยกฎหมายในประเทศเราไปแล้ว คุณจะพาไปไม่ได้ มันขัดหลักกฎหมายสากลที่ว่า “ผู้กระทำความผิดจะไม่ได้รับการลงโทษซ้ำในความผิดฐานเดียวกัน”
หลักกฎหมายนี้มีอยู่จริงครับ เป็นหลักที่ใช้กันทั่วโลก ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงไม่สามารถพาตัวคนของเราไปลงโทษได้ ต้องกลับบ้านไปแบบงงๆ
ผมว่าตรงจุดที่ใช้ตรรกะได้ดีก็เป็นจุดเด่นของคนไทยเลยนะครับ เราจึงเก่งเรื่องปรับตัว และไม่ขัดแย้งกับใคร ในขณะที่ประเทศอื่นขัดแย้งกันรุนแรง
ตรรกะไม่ได้เอาไว้ใช่แค่เรื่องเจรจาความขัดแย้ง แต่มันก็นำไปใช้กับการแก้ปัญหาอื่นๆด้วย เพราะการแก้ปัญหาใดๆก็ใช้หลักเดียวกันคือ ต้องลำดับเหตุการณ์ให้ได้และจากนั้นหาวิธีแก้ทีละจุด ทีนี้เราก็สามารถเสกทางออกได้แล้ว
เอาล่ะ อยากเรียนนิติศาสตร์ขึ้นบ้างมั้ยครับ
Comments
Girlwearsblue
8 months ago
เด็กๆ อย่าเรียน! (ห้ามแบบทีจริงทีจริง)
ถ้าเรียนเป็นปริญญาเสริมก็น่าสนใจดีนะคะ แต่ถ้าจะใบแรกมาเลย ไม่อยากแนะนำเลยค่ะ
Reply
Stikpost
8 months ago
ถ้าทำราชการถือว่าเดิมพันสูงมากเลยครับ
แต่ผมว่ามันทำให้เรามองเห็นจุดที่คนอื่นมองข้ามครับ และถ้าเรามีหลักกฎหมายแน่นๆติดตัวเอาไว้ เราจะไม่เขวไปกับข้อมูลที่เราเจอเลย
ถึงเรียนจบแล้ว รู้ว่ามันไม่ใช่ passion อย่างน้อยมีหลักกฎหมายติดตัวไว้ก็พอ :)
แต่ผมว่ามันทำให้เรามองเห็นจุดที่คนอื่นมองข้ามครับ และถ้าเรามีหลักกฎหมายแน่นๆติดตัวเอาไว้ เราจะไม่เขวไปกับข้อมูลที่เราเจอเลย
ถึงเรียนจบแล้ว รู้ว่ามันไม่ใช่ passion อย่างน้อยมีหลักกฎหมายติดตัวไว้ก็พอ :)
Girlwearsblue
8 months ago
เรามีหลัก กม. ติดตัว แต่ก็ยังมีเขวบ้างนะคะ เราว่ามันยากเหมือนกันที่จะเกิด fully legal mind เพราะหนังสือมากมายที่เราอ่าน ไม่ได้ทำให้เราคิดนอกกรอบได้ทันที มันแค่ขยายกรอบของเราออกไปเท่านั้นเอง
แต่เราเข้าใจที่สื่อ และคิดว่าคุณมีทัศนคติที่ดี ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนค่ะ :)
Stikpost
8 months ago
ขอบคุณเช่นกันครับ :D