“บันทึกนี้เป็นบันทึกอีกหนึ่งฉบับ แน่นอนว่าฉันไม่สามารถที่จะบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดผ่านตัวอักษรได้ เพราะสิ่งที่ได้พบเจอ ความรู้สึกที่ได้รับมามันมากมายเหลือเกิน นี่จึงเป็นเพียงบางส่วนของความทรงจำที่นักศึกษาวิชาชีพครูคนนี้ได้ไปสัมผัส ขอขอบคุณทุกคนที่ช่วยสร้างภาพทรงจำอันมีค่า แม้อาจจะไม่ได้กล่าวถึงครบทุกคน แต่เชื่อได้เลยว่าทุกภาพทรงจำได้จดจารอยู่ในหัวใจ ชนิดที่ไม่สามารถจะลบเลือนได้เลย...แม้สักเสี้ยววินาที”
ฉันมองเห็นดวงตาที่มีแววแห่งความมุ่งมั่น เห็นสองขาที่กำลังก้าวย่างอย่างมั่นคงเพื่อไปสู่จุดที่ดวงตากำลังมองอยู่ เห็นมือที่ยื่นออกมาเตรียมพร้อมจะไขว่คว้าสิ่งนั้น และฉันก็บังเอิญเหลือบสายตาไปเห็นหัวใจที่กำลังไหวเอนไปกับสิ่งเร้าที่มากระทบ มันช่างขัดกับร่างกายที่แน่วแน่ต่อจุดหมายนั้นเหลือเกิน ฉันกำลังมอง มอง มองเห็นตัวฉันเอง...
การเดินทางครั้งนี้จะเรียกว่าไปเพราะอุดมการณ์ก็คงไม่ถูกต้อง เพราะคำว่าอุดมการณ์มันดูยิ่งใหญ่เกินไป ฉันเรียกการไปครั้งนี้ว่าการไปหาคำตอบให้ตัวเอง บ่อยครั้งที่ฉันเฝ้าถามตัวเองว่า ที่ ๆ ฉันกำลังยืนอยู่ สิ่งที่กำลังใฝ่จะไปคว้ามาในตอนนี้ ใช่สิ่งที่ฉันรักและพร้อมจะอยู่กับมันไปตลอดชีวิตหรือเปล่า
ฉันขอสารภาพในที่นี้ว่าวิชาชีพครูนั้น ไม่เคยมีอยู่ในรายการความอยากจะเป็นอันหลากหลายของฉันเลย แต่ไม่รู้ว่าทำไมวันกดเลือกคณะฉันกลับเลือกคณะศึกษาศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่ใจมีสิ่งที่ฝันอยู่แล้ว ใครจะรู้มันอาจจะเป็นเพราะธรรมชาติลิขิตไว้แล้วก็ได้ ว่าเส้นทางสายนี้รอให้ฉันไปค้นหาบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในตัวฉัน บางอย่างที่อยู่ในซอกลึกมาก ลึกเสียจนตัวฉันเองก็ไม่เคยที่จะสัมผัสถึงมันเลยสักครั้ง
วันเวลาผ่านไป ฉันเริ่มทำความรู้จักกับวิชาชีพครู ทั้งจากท่านอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้และค่อย ๆ หยั่งรากความเป็นครูเข้าไปฝังลึกอยู่ในหัวใจและแทรกซึมไปทั่วอณูของจิตวิญญาณ ทุกครั้งเมื่อมีโอกาสได้ไปฝึกปฏิบัติการสอน ฉันจะรู้สึกเหมือนได้รับการเติมอะไรสักอย่างในหัวใจจนเต็ม แต่ฉันก็ยังไม่มั่นใจว่าสิ่งที่มาเติมเต็มในหัวใจนั้น คือการได้ใช้ใจสัมผัสกับนักเรียนหรือเป็นเพราะคะแนนที่กำลังจะได้รับกันแน่
ดังนั้นจึงมีความคิดเล็ก ๆ ผุดขึ้นมาว่า ถ้าหากฉันไปเป็นครูที่ไม่ได้มีข้อผูกพันกับหลักสูตรล่ะ จะเป็นอย่างไรนะ...
"ไปทำไม มีแนวคิดหรือแรงบันดาลใจอะไรเหรอ" คำถามที่ได้ยินเสมอเมื่อมีคนรู้ว่าปิดเทอมนี้ฉันคิดการใหญ่ จะไปเป็นครูบนดอย
“ก็เด็กลงมาหาครูไม่ได้...ครูจึงต้องขึ้นไปหาเด็ก” คำตอบที่ฉันบอกกับทุกคนที่ถาม ตอบไป ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้เห็นสภาพจริง เพียงแค่ได้ยินอาจารย์แม่(บุญธรรม) เล่าเรื่องเด็กน้อยที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ให้ฟังว่าไม่สามารถลงมาในเมืองได้อย่างสะดวก เหตุผลเพราะว่าพวกเขาไม่ได้รับสัญชาติไทย ซึ่งการไม่ได้รับสัญชาตินี้คงจะทำให้หัวใจดวงน้อย ๆ นั้นเจ็บปวดไม่เบาเลยทีเดียว
หลังจากมีพี่ทองช่วยเหลือเรื่องสถานที่แล้ว ฉันก็หารือกับเพื่อนผู้ร่วมเดินทางเรื่องการแบ่งห้องที่จะสอน และคิดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว เพราะต้องเตรียมเนื้อหา สื่อ ใบงานให้พร้อม ซึ่งเพื่อนที่ร่วมเดินทางไปด้วยกันมีทั้งหมด ๗ คน
มิลค์ สาวโคราชที่อยากเป็นครูคณิต แต่ได้มาเรียนครูภาษาไทย มิลค์เป็นคนตั้งใจทำงาน บริหารเวลาได้เก่ง สนุกสนาน "มิลค์ไปเป็นครูดอยกัน" "เออ ไปสิ" คำชวนสั้น ๆ ถูกตอบรับมาสั้น ๆ มิลค์ตอบตกลงไปด้วยทั้ง ๆ ที่ฉันไม่มีรายละเอียดให้เลย
ดา "มิลค์ไปใช่มั้ย งั้นเค้าไปด้วย" คำพูดสั้น ๆ จากสาวนราธิวาสคนขยัน ดาเป็นคนที่มีความพยายาม ทุ่มเท ทำอะไรทำจริง และที่สำคัญรักเด็กมาก
หนิง สาวเก่งจากหนองคาย เป็นครูที่ครบเครื่องทั้งวิชาการและนันทนาการ หนิงเป็นคนนึงที่ถามฉันว่า "มีแนวคิดอะไร" สงสัยที่ฉันตอบมันไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ เธอจึงไปหา คำตอบด้วยตัวเอง
วิว แม่ชีจากศรีสะเกษ เป็นผู้หญิงที่มาพร้อมความสงบ เป็นคนพูดตรง ๆ จะออกแนวเน้นสัจธรรม เวลาวิวพูดอะไรจะทำหน้านิ่ง ๆ ไม่ได้คิดอะไร แต่กลับสร้างเสียงหัวเราะได้ตลอด อยู่กับวิวแล้วอายุยืนแน่ ๆ
บัว สาวสตูล เพื่อนที่ไปไหนไปกันขอแค่ให้บอก เราเคยได้สอนคู่กันตอนไปโรงเรียน บ้านโกทา ทำให้เห็นว่าครูบัวเป็นคนขี้อายแต่ความตั้งใจที่จะสอนนั้นเกินร้อยเลยล่ะ
เชอร์รี คุณครูคนสวยจากอุดรธานี เชอร์รีผู้มีแต่ความสดใส เป็นคนที่เก่งมาก ทำงานสโมสรนักศึกษา และเป็นผู้จัดการค่ายได้ดีมาก สมกับเป็นประธานค่ายใหญ่ของสาขาเราจริง ๆ
ตัวฉันเอง คนอารมณ์ติสท์ ๆ คนหนึ่ง ที่ชอบคิดอะไรแปลก ๆ จนคนรอบข้างเหวอไปในบางครั้ง แต่ต้องขอบคุณความคิดแปลก ๆ ที่ชอบผุดขึ้นมา จึงทำให้มีการเดินทางในครั้งนี้
สรุปพวกเราได้แบ่งงานกันดังนี้
ฉัน ป.๑ ดา ป.๒ มิลค์ ป.๓ วิว ป.๔/๑
เชอร์รี ป.๔/๒ บัว ป.๕ หนิง ป.๖
แต่ใครจะรู้ว่าต่อให้วางแผนดีแค่ไหน แต่เมื่อถึงวันจริง ๆ ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งสนับสนุนคำพูดที่ว่า "คนเราควรมีแผน ๒ ๓ และ... สำหรับทุกเรื่องเสมอ" ได้อย่างดีทีเดียว
พวกเราทั้ง ๗ คน นัดเจอกันที่คณะ พอไปถึงฉันถึงกับตกใจ เพราะทั้งกระเป๋าเสื้อผ้า เครื่องยังชีพ อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ และอื่น ๆ ของทุกคนรวมกันนั้น แท็กซี่จะขนไปอย่างไรไหว
แต่มีเหตุการณ์สุดระทึกกว่านั้นเกิดขึ้น เพราะฉันดูเวลาเดินรถไฟผิด ฉันบอกเพื่อน ๆ ว่ารถไฟจะเคลื่อนขบวนเวลา ๒๑.๔๕น. แต่พอดูในตั๋วใหม่เวลาที่เขียนอยู่คือ ๒๑.๐๕น. และที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือขณะที่รู้ตัวนั้นเวลา ๒๐.๓๐น. พวกเราเร่งโทรหาทั้งแท็กซี่ รถเหมา รถสองแถว แต่เหมือนฟ้าจะอยากแกล้งเรานาน ๆ จึงไม่มีใครรับสาย เรารอจนถึง ๑๐ นาทีสุดท้ายก็ไม่มีวี่แวว ฉันเลยตัดสินใจโบกรถกระบะที่กำลังแล่นออกจากคณะ แต่พี่เขาบอกว่าไปคนละเส้นทางฉันจึงได้แต่เดินคอตกกลับมาหาเพื่อน
แต่รถกระบะคันนั้นมีปัญหาเรื่องการ์ดเปิด-ปิดประตูเล็กน้อย พี่คนขับรถจึงมีเวลามองกลับมาเห็นสายตาใกล้จะหมดหวังของเรา พี่เขาเรียกเราไปถามว่าจะไปไหน พวกเราบอก จุดหมายและจุดประสงค์เสร็จ คุณลุงรปภ.ก็ช่วยพูดเสริมแรง พี่ชายคนนั้นจึงให้พวกเราขนของขึ้นกระบะแล้วบินไปส่งที่สถานีรถไฟทันเวลาพอดี ก่อนไปเราได้ถามชื่อพี่ชายใจดีคนนั้นไว้ และฉันก็จะจดจำความใจดี ความมีน้ำใจของพี่อ๋องคนนี้ไว้ตลอดไป
ท่ามกลางความโชคร้าย ย่อมมีความโชคดี ท่ามกลางความโกลาหล ย่อมมีที่ว่างของ
ความสงบ แล้วประโยคนึงก็ผุดขึ้นมาในหัว "ท่ามกลางความคิดที่จะทำดี ย่อมมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นเสมอ" แม้จะค่อยคมเหมือนประโยคก่อนหน้า แต่ในสถานการณ์นี้มันก็ฟังดูใช้ได้เหมือนกันนะ^^
๓ วัน ๒ คืน บนรถไฟ ช่วงเวลาที่ได้รับรู้ความเป็นไปหลาย ๆ อย่าง ทั้งจากพ่อค้าแม่ค้า ผู้โดยสารด้วยกัน ได้เห็นความเป็นไปของปุถุชน ที่มีทั้งความเห็นแก่ตัวและความมีน้ำใจปะปนกันไป ขณะนั่งรถไฟจะไม่ค่อยได้จับโทรศัพท์เท่าใดนัก เพราะไม่มีที่ชาร์จแบต ทำให้ได้อยู่กับตัวเอง ทบทวนตัวเอง และได้มองสิ่งรอบข้างมากขึ้น ฉันรู้สึกว่าเสน่ห์ของรถไฟอยู่ ตรงนี้ เพราะมันทำให้ฉันได้มองตาคนอื่นมากขึ้น ได้มองข้างทางมากขึ้น และได้มองหัวใจ ตัวเองมากยิ่งขึ้น...ฉันรักรถไฟ
หลังจากที่นั่งรถไฟมาหลายวัน เราก็มานั่งรถเมล์ต่อ เริ่มจากรถแดงที่พาเรามาส่งที่ขนส่งช้างเผือก แล้วมาต่อรถฟ้าขึ้นดอยอีกครึ่งวันเพื่อไปที่อมก๋อย
พวกเราลงที่หน้าโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม โรงเรียนประจำอำเภออมก๋อย โรงเรียนที่ พี่ทองสอนอยู่ เราเติมกำลังด้วยข้าวขาหมู ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวานต่าง ๆ ฉันไม่รู้เป็นเพราะ พวกเราหิวหรือเปล่า จึงรู้สึกว่าอาหารที่นี่อร่อยมาก
ระหว่างที่ทานข้าวกันอยู่มีผู้หญิงสองคนแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีสด เดินเข้ามาถามพวกเราด้วยสีหน้าตื่นเต้นปนเขินว่าพวกเรามาทำอะไร ฉันจึงตอบไปว่ามาช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านหลวง
"ไม่ไปสอนที่หมู่บ้านมูเซอบ้างเหรอ แต่มันต้องขึ้นดอยอีกไกลครูคงไปลำบาก"
การถามเองตอบเองของเธอ ทำให้ใจฉันกระตุกไม่เบาเลยทีเดียว ฉันจึงเปลี่ยนเรื่องโดยการคุยเล่นเรื่องอื่น ๆ ก่อนจากกันเธอบอกฉันว่าถ้ามีโอกาสก็ไปที่ดอยมูเซอ ไปรับหมอกและลมหนาว ๆ ฉันยิ้มรับแต่ไม่ได้รับปากเธอเพราะเราไม่มีรถและไม่รู้จักเส้นทางแถวนี้เลย
เริ่ม
ฉันมองเห็นดวงตาที่มีแววแห่งความมุ่งมั่น เห็นสองขาที่กำลังก้าวย่างอย่างมั่นคงเพื่อไปสู่จุดที่ดวงตากำลังมองอยู่ เห็นมือที่ยื่นออกมาเตรียมพร้อมจะไขว่คว้าสิ่งนั้น และฉันก็บังเอิญเหลือบสายตาไปเห็นหัวใจที่กำลังไหวเอนไปกับสิ่งเร้าที่มากระทบ มันช่างขัดกับร่างกายที่แน่วแน่ต่อจุดหมายนั้นเหลือเกิน ฉันกำลังมอง มอง มองเห็นตัวฉันเอง...
การเดินทางครั้งนี้จะเรียกว่าไปเพราะอุดมการณ์ก็คงไม่ถูกต้อง เพราะคำว่าอุดมการณ์มันดูยิ่งใหญ่เกินไป ฉันเรียกการไปครั้งนี้ว่าการไปหาคำตอบให้ตัวเอง บ่อยครั้งที่ฉันเฝ้าถามตัวเองว่า ที่ ๆ ฉันกำลังยืนอยู่ สิ่งที่กำลังใฝ่จะไปคว้ามาในตอนนี้ ใช่สิ่งที่ฉันรักและพร้อมจะอยู่กับมันไปตลอดชีวิตหรือเปล่า
เพราะ
ฉันขอสารภาพในที่นี้ว่าวิชาชีพครูนั้น ไม่เคยมีอยู่ในรายการความอยากจะเป็นอันหลากหลายของฉันเลย แต่ไม่รู้ว่าทำไมวันกดเลือกคณะฉันกลับเลือกคณะศึกษาศาสตร์ ทั้ง ๆ ที่ใจมีสิ่งที่ฝันอยู่แล้ว ใครจะรู้มันอาจจะเป็นเพราะธรรมชาติลิขิตไว้แล้วก็ได้ ว่าเส้นทางสายนี้รอให้ฉันไปค้นหาบางอย่างที่ซ่อนอยู่ในตัวฉัน บางอย่างที่อยู่ในซอกลึกมาก ลึกเสียจนตัวฉันเองก็ไม่เคยที่จะสัมผัสถึงมันเลยสักครั้ง
วันเวลาผ่านไป ฉันเริ่มทำความรู้จักกับวิชาชีพครู ทั้งจากท่านอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้และค่อย ๆ หยั่งรากความเป็นครูเข้าไปฝังลึกอยู่ในหัวใจและแทรกซึมไปทั่วอณูของจิตวิญญาณ ทุกครั้งเมื่อมีโอกาสได้ไปฝึกปฏิบัติการสอน ฉันจะรู้สึกเหมือนได้รับการเติมอะไรสักอย่างในหัวใจจนเต็ม แต่ฉันก็ยังไม่มั่นใจว่าสิ่งที่มาเติมเต็มในหัวใจนั้น คือการได้ใช้ใจสัมผัสกับนักเรียนหรือเป็นเพราะคะแนนที่กำลังจะได้รับกันแน่
ดังนั้นจึงมีความคิดเล็ก ๆ ผุดขึ้นมาว่า ถ้าหากฉันไปเป็นครูที่ไม่ได้มีข้อผูกพันกับหลักสูตรล่ะ จะเป็นอย่างไรนะ...
"ไปทำไม มีแนวคิดหรือแรงบันดาลใจอะไรเหรอ" คำถามที่ได้ยินเสมอเมื่อมีคนรู้ว่าปิดเทอมนี้ฉันคิดการใหญ่ จะไปเป็นครูบนดอย
“ก็เด็กลงมาหาครูไม่ได้...ครูจึงต้องขึ้นไปหาเด็ก” คำตอบที่ฉันบอกกับทุกคนที่ถาม ตอบไป ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยรู้เห็นสภาพจริง เพียงแค่ได้ยินอาจารย์แม่(บุญธรรม) เล่าเรื่องเด็กน้อยที่ อ.แม่สอด จ.ตาก ให้ฟังว่าไม่สามารถลงมาในเมืองได้อย่างสะดวก เหตุผลเพราะว่าพวกเขาไม่ได้รับสัญชาติไทย ซึ่งการไม่ได้รับสัญชาตินี้คงจะทำให้หัวใจดวงน้อย ๆ นั้นเจ็บปวดไม่เบาเลยทีเดียว
เบื้องหลังเมื่อความคิดที่จะไปสอนบนดอยเกิดขึ้น ฉันก็มาวางแผนกับตัวเองหาโรงเรียนทาง ภาคเหนือที่ต้องการครูไปช่วยสอน ฉันได้รายชื่อโรงเรียนมามากมายแต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องติดต่อทางโรงเรียนได้อย่างไร เพราะฉันไม่มีประสบการณ์ในการติดต่อราชการหรืออะไรเช่นนี้เลย ฉันคิดอะไรไม่ออกจึงเปิดดนตรีไทยฟังให้หัวเย็นลง และฉันก็นึกถึงพี่ทอง พี่ชมรมดนตรีไทยที่เคยมารำในวันถวายมือตอนพวกเราอยู่ปีหนึ่ง และพี่ยังเป็นพี่สาขาการสอนภาษาไทย ที่ไปบรรจุเป็นครูที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ พอนึกขึ้นได้ฉันก็รีบติดต่อพี่ทันที พี่ได้ให้ความช่วยเหลือเป็นธุระติดต่อทางโรงเรียนให้โดยตลอด จากหนทางการเดินทางสู่ดอยที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ทั้งเรื่องสถานที่ เรื่องผู้ร่วมเดินทางที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หรือจะเป็นเรื่องหนังสือราชการที่ต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีกเพราะความไม่รอบคอบของฉันเอง จากทางที่เต็มไปด้วยหลุมและบ่อ ค่อย ๆ กลายสภาพเป็นทางที่ราบเรียบ พร้อมที่จะให้ครูนักไต่ฝันทั้งหลายได้ก้าวไปค้นหา คำตอบของตัวเองและลองสัมผัสงานแห่งวิชาชีพอันมีเกียรติของเรา งานของครู
เพื่อนร่วมทาง
หลังจากมีพี่ทองช่วยเหลือเรื่องสถานที่แล้ว ฉันก็หารือกับเพื่อนผู้ร่วมเดินทางเรื่องการแบ่งห้องที่จะสอน และคิดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกแล้ว เพราะต้องเตรียมเนื้อหา สื่อ ใบงานให้พร้อม ซึ่งเพื่อนที่ร่วมเดินทางไปด้วยกันมีทั้งหมด ๗ คน
มิลค์ สาวโคราชที่อยากเป็นครูคณิต แต่ได้มาเรียนครูภาษาไทย มิลค์เป็นคนตั้งใจทำงาน บริหารเวลาได้เก่ง สนุกสนาน "มิลค์ไปเป็นครูดอยกัน" "เออ ไปสิ" คำชวนสั้น ๆ ถูกตอบรับมาสั้น ๆ มิลค์ตอบตกลงไปด้วยทั้ง ๆ ที่ฉันไม่มีรายละเอียดให้เลย
ดา "มิลค์ไปใช่มั้ย งั้นเค้าไปด้วย" คำพูดสั้น ๆ จากสาวนราธิวาสคนขยัน ดาเป็นคนที่มีความพยายาม ทุ่มเท ทำอะไรทำจริง และที่สำคัญรักเด็กมาก
หนิง สาวเก่งจากหนองคาย เป็นครูที่ครบเครื่องทั้งวิชาการและนันทนาการ หนิงเป็นคนนึงที่ถามฉันว่า "มีแนวคิดอะไร" สงสัยที่ฉันตอบมันไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ เธอจึงไปหา คำตอบด้วยตัวเอง
วิว แม่ชีจากศรีสะเกษ เป็นผู้หญิงที่มาพร้อมความสงบ เป็นคนพูดตรง ๆ จะออกแนวเน้นสัจธรรม เวลาวิวพูดอะไรจะทำหน้านิ่ง ๆ ไม่ได้คิดอะไร แต่กลับสร้างเสียงหัวเราะได้ตลอด อยู่กับวิวแล้วอายุยืนแน่ ๆ
บัว สาวสตูล เพื่อนที่ไปไหนไปกันขอแค่ให้บอก เราเคยได้สอนคู่กันตอนไปโรงเรียน บ้านโกทา ทำให้เห็นว่าครูบัวเป็นคนขี้อายแต่ความตั้งใจที่จะสอนนั้นเกินร้อยเลยล่ะ
เชอร์รี คุณครูคนสวยจากอุดรธานี เชอร์รีผู้มีแต่ความสดใส เป็นคนที่เก่งมาก ทำงานสโมสรนักศึกษา และเป็นผู้จัดการค่ายได้ดีมาก สมกับเป็นประธานค่ายใหญ่ของสาขาเราจริง ๆ
ตัวฉันเอง คนอารมณ์ติสท์ ๆ คนหนึ่ง ที่ชอบคิดอะไรแปลก ๆ จนคนรอบข้างเหวอไปในบางครั้ง แต่ต้องขอบคุณความคิดแปลก ๆ ที่ชอบผุดขึ้นมา จึงทำให้มีการเดินทางในครั้งนี้
สรุปพวกเราได้แบ่งงานกันดังนี้
ฉัน ป.๑ ดา ป.๒ มิลค์ ป.๓ วิว ป.๔/๑
เชอร์รี ป.๔/๒ บัว ป.๕ หนิง ป.๖
แต่ใครจะรู้ว่าต่อให้วางแผนดีแค่ไหน แต่เมื่อถึงวันจริง ๆ ย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ซึ่งสนับสนุนคำพูดที่ว่า "คนเราควรมีแผน ๒ ๓ และ... สำหรับทุกเรื่องเสมอ" ได้อย่างดีทีเดียว
คนใจดีวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๒๐.๐๐น.
พวกเราทั้ง ๗ คน นัดเจอกันที่คณะ พอไปถึงฉันถึงกับตกใจ เพราะทั้งกระเป๋าเสื้อผ้า เครื่องยังชีพ อุปกรณ์ สื่อการเรียนรู้ และอื่น ๆ ของทุกคนรวมกันนั้น แท็กซี่จะขนไปอย่างไรไหว
แต่มีเหตุการณ์สุดระทึกกว่านั้นเกิดขึ้น เพราะฉันดูเวลาเดินรถไฟผิด ฉันบอกเพื่อน ๆ ว่ารถไฟจะเคลื่อนขบวนเวลา ๒๑.๔๕น. แต่พอดูในตั๋วใหม่เวลาที่เขียนอยู่คือ ๒๑.๐๕น. และที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือขณะที่รู้ตัวนั้นเวลา ๒๐.๓๐น. พวกเราเร่งโทรหาทั้งแท็กซี่ รถเหมา รถสองแถว แต่เหมือนฟ้าจะอยากแกล้งเรานาน ๆ จึงไม่มีใครรับสาย เรารอจนถึง ๑๐ นาทีสุดท้ายก็ไม่มีวี่แวว ฉันเลยตัดสินใจโบกรถกระบะที่กำลังแล่นออกจากคณะ แต่พี่เขาบอกว่าไปคนละเส้นทางฉันจึงได้แต่เดินคอตกกลับมาหาเพื่อน
แต่รถกระบะคันนั้นมีปัญหาเรื่องการ์ดเปิด-ปิดประตูเล็กน้อย พี่คนขับรถจึงมีเวลามองกลับมาเห็นสายตาใกล้จะหมดหวังของเรา พี่เขาเรียกเราไปถามว่าจะไปไหน พวกเราบอก จุดหมายและจุดประสงค์เสร็จ คุณลุงรปภ.ก็ช่วยพูดเสริมแรง พี่ชายคนนั้นจึงให้พวกเราขนของขึ้นกระบะแล้วบินไปส่งที่สถานีรถไฟทันเวลาพอดี ก่อนไปเราได้ถามชื่อพี่ชายใจดีคนนั้นไว้ และฉันก็จะจดจำความใจดี ความมีน้ำใจของพี่อ๋องคนนี้ไว้ตลอดไป
ท่ามกลางความโชคร้าย ย่อมมีความโชคดี ท่ามกลางความโกลาหล ย่อมมีที่ว่างของ
ความสงบ แล้วประโยคนึงก็ผุดขึ้นมาในหัว "ท่ามกลางความคิดที่จะทำดี ย่อมมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นเสมอ" แม้จะค่อยคมเหมือนประโยคก่อนหน้า แต่ในสถานการณ์นี้มันก็ฟังดูใช้ได้เหมือนกันนะ^^
รถไฟ..ไปเชียงใหม่
๓ วัน ๒ คืน บนรถไฟ ช่วงเวลาที่ได้รับรู้ความเป็นไปหลาย ๆ อย่าง ทั้งจากพ่อค้าแม่ค้า ผู้โดยสารด้วยกัน ได้เห็นความเป็นไปของปุถุชน ที่มีทั้งความเห็นแก่ตัวและความมีน้ำใจปะปนกันไป ขณะนั่งรถไฟจะไม่ค่อยได้จับโทรศัพท์เท่าใดนัก เพราะไม่มีที่ชาร์จแบต ทำให้ได้อยู่กับตัวเอง ทบทวนตัวเอง และได้มองสิ่งรอบข้างมากขึ้น ฉันรู้สึกว่าเสน่ห์ของรถไฟอยู่ ตรงนี้ เพราะมันทำให้ฉันได้มองตาคนอื่นมากขึ้น ได้มองข้างทางมากขึ้น และได้มองหัวใจ ตัวเองมากยิ่งขึ้น...ฉันรักรถไฟ
หลังจากที่นั่งรถไฟมาหลายวัน เราก็มานั่งรถเมล์ต่อ เริ่มจากรถแดงที่พาเรามาส่งที่ขนส่งช้างเผือก แล้วมาต่อรถฟ้าขึ้นดอยอีกครึ่งวันเพื่อไปที่อมก๋อย
พวกเราลงที่หน้าโรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม โรงเรียนประจำอำเภออมก๋อย โรงเรียนที่ พี่ทองสอนอยู่ เราเติมกำลังด้วยข้าวขาหมู ก๋วยเตี๋ยว ขนมหวานต่าง ๆ ฉันไม่รู้เป็นเพราะ พวกเราหิวหรือเปล่า จึงรู้สึกว่าอาหารที่นี่อร่อยมาก
ระหว่างที่ทานข้าวกันอยู่มีผู้หญิงสองคนแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีสด เดินเข้ามาถามพวกเราด้วยสีหน้าตื่นเต้นปนเขินว่าพวกเรามาทำอะไร ฉันจึงตอบไปว่ามาช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านหลวง
"ไม่ไปสอนที่หมู่บ้านมูเซอบ้างเหรอ แต่มันต้องขึ้นดอยอีกไกลครูคงไปลำบาก"
การถามเองตอบเองของเธอ ทำให้ใจฉันกระตุกไม่เบาเลยทีเดียว ฉันจึงเปลี่ยนเรื่องโดยการคุยเล่นเรื่องอื่น ๆ ก่อนจากกันเธอบอกฉันว่าถ้ามีโอกาสก็ไปที่ดอยมูเซอ ไปรับหมอกและลมหนาว ๆ ฉันยิ้มรับแต่ไม่ได้รับปากเธอเพราะเราไม่มีรถและไม่รู้จักเส้นทางแถวนี้เลย
อมก๋อยวิทยาคมเมื่อทานอาหารเสร็จพวกเราก็ข้ามฝั่งเดินเข้าไปในโรงเรียงสีม่วง "อมก๋อยวิทยาคม" โรงเรียนประจำอำเภอแห่งนี้ ฉันตื่นเต้นมากเพราะจะได้เจอพี่ทอง ฉันติดต่อพี่ผ่านทางเฟซบุ๊ก ไม่เคยคุยกับพี่แบบจริง ๆ สักครั้ง พอได้พบ พี่ทำให้ฉันทึ่งในอุดมการณ์ที่แน่วแน่ของครูบนดอย ฉันมองเห็นประกายความสุขเวลาพี่พูดถึงนักเรียน พี่พาพวกเราเดินชมโรงเรียน และการมาที่นี่ทำให้ฉันเห็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีต่อเหล่าราษฎรว่าช่างมาก เหลือเกิน ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคนที่นี่ถึงรักและจงรักภักดีต่อราชวงศ์มากขนาดนั้น
โปรดติดตามต่อ..