
@ MDRT IFA สัปดาห์ที่1:First Step To MDRT
สโมสร MDRT IFA มีส่วนผสมของคำที่สำคัญ 2 คำดังต่อไปนี้
1. MDRT หมายถึงสโมสรล้านเหรียญโต๊ะกลม(Million Dollar Round Table) คือสมาคมของสุดยอดมืออาชีพทางด้านการเงินนานาชาติ ที่มีสมาชิกกว่า 42,000คน หรือน้อยกว่า 1% ของตัวแทนหรือผู้ให้การบริการทางการเงินทั่วโลก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2470 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สมาชิก MDRT จะให้บริการลูกค้าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม พร้อมทั้งใช้ความรู้อย่างมืออาชีพ เต็มความสามารถ
2. IFA หมายถึงที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (Independent Financial Advisor) ในความหมายทั่วไปคือที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือกำลังจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียน แต่ในที่นี้ IFA จะหมายถึงที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถทางการเงินช่วยลูกค้าวางแผน ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย(ครอบครัว) ช่วยในการจัดสรรสินทรัพย์(Asset Allowcation), ช่วยในการจัดพอร์ตโฟลิโอ(Portfolio Model), ช่วยในการโอนย้ายความเสี่ยง (Risk Transfer) ,ช่วยในการวางแผนการศึกษาของบุตร (Education Plan),ช่วยในการวางแผนด้านภาษี(Tax Planning),ช่วยในการวางแผนเกษียณสุข(Retirement Planning) ตลอดจนช่วยในการวางแผนมรดก(Estate Planning)
เราเริ่มเปิดการสัมมนาเวลา 9.00น.โดยมีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมาให้ข้อคิดและแนวทาง คำพูดนึงที่สมาชิกได้ฟังแล้วสะท้อนถึงกิจกรรมต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ
"การเรียนรู้เพื่อไปสู่ MDRT นั้น มันอาจไม่สนุก...แต่พวกเราต้องมี Mind Set ที่ถูกต้องนั่นคือ การฝึกฝนต่างๆ ที่ได้พบล้วนผ่านความรักจากโค้ชที่อยากเห็นสมาชิกทุกคนประสพความสำเร็จ ความสนุกสนานจะเกิดขึ้นได้ก็จะต้องมาจากเพื่อนสมาชิกที่ร่วมสร้างกันขึ้นมา"
ในการเป็นตัวแทนที่ปรึกษาทางการเงินที่ Qualify MDRT นั้นนอกจากการขายประกันชีวิตและบริการลูกค้าเป็นอย่างดีแล้ว เครื่องมือที่ช่วยให้ตัวแทนฯทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้นก็คือการมีใบอนุญาตแนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์(IC License) ที่นำไปขึ้นทะเบียนกับ ก.ล.ต. สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งจะทำให้เราได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับความจำเป็นของลูกค้ามากยิ่งขึ้น เช่นกองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน ทั้งในและต่างประเทศเป็นต้น
นอกเหนือไปจากการมีใบอนุญาตการขายประกันจากบริษัทประกันชีวิตและใบอนุญาตแนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์แล้ว ผู้ที่จะมีรูปแบบการทำงานในระดับ MDRT จะต้องมีความสามารถในขั้นกว่า นั่นคือ การจบหลักสูตรการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน/นักวางแผนการเงินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตร CFP (Certified Financial Planning) นักวางแผนการเงิน ซึ่งรับรองโดยสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย(Thailand Financial Planner Association) หรือจบหลักสูตร AFPT (Associate Financial Planner Thailand) ที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตหรือที่ปรึกษาด้านการลงทุน ก็ถือว่ามีความเชี่ยวชาญที่เพียงพอในการแนะนำลูกค้าให้ได้ตามเป้าหมายชีวิต
2. หลักสูตร FchFP (Fellow Chartered Financial Practitioner) ที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งจัดโดยสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินไทย(Thai Association of Insurance and Financial Advisors_ThaiFA) และรับรองโดย สมาคมนักบริการทางการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Financial Services Association-APFinSA)
3. หลักสูตร RFC ที่ปรึกษาทางการเงิน(Registered Financial Consultant) ซึ่งมีเนื้อหาสาระและหลักการเกือบจะเหมือนกันทั้งหมดกับ 2 หลักสูตรข้างต้น หลักสูตร RFC ได้ถูกนำเข้ามาจัดอบรมโดยสมาคมตัวแทนประกันชีวิต(ในสมัยนั้น)ใน ปี 2549 ในด้านความรู้นั้นอาจมีรายละเอียดแตกต่างออกไปบ้างเพียงเล็กน้อย แต่ความแตกต่างที่สำคัญคือระยะเวลาในการอบรมกับใครหรือสถาบันใดเป็นผู้จัดอบรมหรือรับรองคุณวุฒิ มีหลักฐานเผยแพร่ของสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินดังนี้ " หลักสูตร RFC (Registered Financial Consultant) จากสมาคม IARFC (International Association Registered Financial Consultant) นับเป็น หลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงินหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในประเทศไทย แต่ต่อมาสมาคมพบว่าหลักสูตร RFC ที่เปิดสอนนั้นเป็นหลักสูตรเร่งรัด ใช้เวลาเรียนเพียง 5 วัน ยากที่ตัวแทนจะเข้าใจเนื้อหาได้โดยละเอียด เป็นหลักสูตรที่เพียงให้ผู้เรียนได้เห็นภาพกว้างๆเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถ พัฒนาให้ตัวแทนประกันชีวิตไปเป็นที่ปรึกษาการเงินได้อย่างที่คาดหวัง ประกอบกับในเวลานั้น ทางสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเซียแปซิฟิค (APFinSA หรือ APLIC ในอดีต) ได้พัฒนาหลักสูตรที่ปรึกษาการเงินขึ้นมาใหม่ ชื่อ FChFP ( Fellow Chartered Financial Practitioner) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์และเหมาะกับตัวแทนประกันชีวิต ทางสมาคมจึงได้ตัดสินใจ ยุติความร่วมมือกับสมาคม IARFC แล้วหันมานำเข้าหลักสูตร FChFP เพื่อเปิดอบรมแทน หลักสูตร FChFP เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเซียแปซิฟิค ( APFinSA ) ในการร่วมกันจัดอบรมให้กับผู้สนใจ เนื้อหาตำรานำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยและผู้ทรงวุฒิจากสถาบันต่างๆ เป็นผู้สอน แบ่งเป็น 6 กลุ่มวิชาๆละ 30 ชั่วโมง จึงทำให้สมาคมมั่นใจว่า ผู้เรียนจะสามารถเก็บเกี่ยวและทำความเข้าใจเนื้อหาได้อย่างเต็มที่... จึงได้มีการเปิดสอน หลักสูตรนี้ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และมีการเปิดเปิดสอนในอีกหลายรุ่นถัดมา"
เมื่อทำความเข้าใจในหลักการ อย่างมั่นคงแน่นหนาแล้วก็ถึงภาคปฏิบัติ โดยสโมสรนี้มีการผสมผสานการอบรม, การสัมมนา, Case Study, และ Group Study เข้ามาไว้ด้วยกัน และเพื่อให้การเรียนรู้มีความเข้มข้น สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เราจึงติดตั้งระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ขึ้นมา
ระบบ Mentor นี้ได้ถูกออกแบบและใช้งานจริงในสโมสร MDRT โดยข้อตกลงความร่วมมือกันของสมาชิก MDRT ที่เป็นผู้บริหารทีมงานขายได้อย่างประสพความสำเร็จระดับสูงและร่วมกันก่อตั้งสโมสร GAMA สมาคมผู้จัดการและเจ้าของสำนักงานตัวแทนขึ้นมา(ที่สหรัฐอเมริกา) เพื่อให้สมาชิก MDRT ได้มีโอกาสช่วยเหลือ "ว่าที่" MDRT คนต่อไป เราได้ปรับวิธีการใช้ระบบพี่เลี้ยงให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกและเหมาะสมกับความสามารถของโค้ช
ปีที่ผ่านมาในสโมสรของเรามีสมาชิกติดคุณวุฒิ MDRT จำนวน 3 ท่านได้แก่คุณรัตนา กมลงามพิพัฒน์(ติดMDRT เป็นครั้งที่3),คุณอารีรัตน์ ตั้งเด่นชัย&คุณไตรรงค์ สุวรรณรัตน์ คู่สามีภรรยาที่ช่วยกันได้อย่างดี,คุณฤกษ์วรุณณ์ บวรสิทธิรักษ์ เราจึงได้แต่งตั้งบุคคลสำคัญดังกล่าวเป็นโค้ช(Coach) ให้กับสมาชิกในการสัมมนา10ครั้งนี้โดยมีคุณชำนาญ จองพิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและสัมมนามายาวนาน กว่า25ปีเป็น Moderator&Coach ช่วยดำเนินรายการหลักและเป็นที่ปรึกษาให้กับโค้ชรวมทั้งสมาชิกเมื่อมีความต้องการ
บรรยากาศของสโมสรมีความตื่นเต้นมากขึ้น เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกมาแนะนำตัวและบอกถึงวัตถุประสงค์ว่าเพราะอะไรจึงมาเข้าสโมสรนี้? แล้วโค้ชทั้ง 3 คนจะเป็นผู้คัดเลือกสมาชิกที่ "มีเคมีตรงกัน" มีแววว่าจะสามารถแนะนำฝึกฝน ยกระดับทักษะและจิตใจจนติดคุณวุฒิ MDRT ได้เข้าร่วมทีม จนเมื่อจบชั่วโมงเราจึงมี 3 ทีมๆ ละ 5-6 คนที่มุ่งมั่นเป็น MDRT!!!
ลักษณะการจัดกิจกรรมสำคัญในนามสโมสร MDRT IFA (Independent Financial Advisor) ได้ถูกส่งมอบภาระกิจสำหรับการพบกันในครั้งต่อไปคือ
1. การสรุปกิจกรรมการทำงานประจำสัปดาห์ 12 หัวข้อ เริ่มจากการมีรายชื่อแนะนำเพื่อการเข้าพบไปจนถึงจำนวนชั่วโมงทำงานในแต่ละสัปดาห์โดยมี"ตัวเลขสำคัญ" ที่ใช้เป็นค่ามาตรฐานกลาง Benchmark ซึ่งนำมาจากค่าเฉลี่ยของโค้ชทั้ง 3 ท่านที่ติดคุณวุฒิ MDRT ในปีที่ผ่านมาเป็นตัวเปรียบเทียบ
2. การมอบหมายให้สมาชิก"จับคู่" เพื่อทำ Financial Analysis&Advise ตามแบบอย่างของหลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงินที่กล่าวมาข้างต้น โดยให้สลับกันเป็นลูกค้าและที่ปรึกษาทางการเงินในครั้งต่อๆไป แล้วมานำเสนอที่สโมสรว่าเมื่อพูดคุยสอบถามเป้าหมายและความต้องการของลูกค้าแล้วที่ปรึกษาฯมีวิธีเก็บข้อมูลอย่างไร ?อัตราส่วนทางการเงินต่างๆเป็นอย่างไร? ข้อแนะนำเพื่อให้ลูกค้านำไปปฏิบัติจริงในแต่ละเป้าหมายของเขามีอะไรบ้าง? ที่สำคัญลูกค้าเข้าใจและเต็มใจนำข้อแนะนำนั้นไปปฏิบัติมากน้อยเพียงไร?
3. การมอบหมายภาระกิจ "การใส่ใจ" เราขออาสาสมัครที่จะจัดเตรียมอาหารเบรคสำหรับการสัมมนาในครั้งต่อไป เป็นกิจกรรมเล็กๆ ที่มีความหมายกว้างขวาง เนื่องจากสมาชิกจะได้ฝึกฝนและแบ่งปันจิตใจการเป็น"ผู้ให้" แก่เพื่อนๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็นตัวแทนที่ดีที่รักและ"รู้ใจ"ผู้คนที่เขาติดต่อด้วย
ปิดการสัมมนาสโมสร MDRT IFA ครั้งที่ 1 เวลา 12.00 น.ด้วยการถ่ายภาพหมู่ที่ป้ายแห่งความสำเร็จคือ MDRT และถ่ายภาพหมู่สำหรับทีมโค้ชพี่เล็ก(รัตนา),ทีมโค้ชโอ๋(อารีรัตน์)และทีมโค้ชปอนด์(ฤกษ์วรุณณ์)!!!
#MDRT IFA
#สร้างนิสัย MDRT ได้ใน10สัปดาห์
ชำนาญ จองพิพัฒน์& รัตนา กมลงามพิพัฒน์
MDRT Moderator&Coach
14/7/2016
FB Fanpage : MDRT IFA
Line@uwq1735i : MDRT IFA
http://line.me/ti/p/@uwq1735i
สโมสร MDRT IFA มีส่วนผสมของคำที่สำคัญ 2 คำดังต่อไปนี้
1. MDRT หมายถึงสโมสรล้านเหรียญโต๊ะกลม(Million Dollar Round Table) คือสมาคมของสุดยอดมืออาชีพทางด้านการเงินนานาชาติ ที่มีสมาชิกกว่า 42,000คน หรือน้อยกว่า 1% ของตัวแทนหรือผู้ให้การบริการทางการเงินทั่วโลก ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2470 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สมาชิก MDRT จะให้บริการลูกค้าด้วยมาตรฐานทางจริยธรรม พร้อมทั้งใช้ความรู้อย่างมืออาชีพ เต็มความสามารถ
2. IFA หมายถึงที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (Independent Financial Advisor) ในความหมายทั่วไปคือที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือกำลังจะนำบริษัทเข้าจดทะเบียน แต่ในที่นี้ IFA จะหมายถึงที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถทางการเงินช่วยลูกค้าวางแผน ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย(ครอบครัว) ช่วยในการจัดสรรสินทรัพย์(Asset Allowcation), ช่วยในการจัดพอร์ตโฟลิโอ(Portfolio Model), ช่วยในการโอนย้ายความเสี่ยง (Risk Transfer) ,ช่วยในการวางแผนการศึกษาของบุตร (Education Plan),ช่วยในการวางแผนด้านภาษี(Tax Planning),ช่วยในการวางแผนเกษียณสุข(Retirement Planning) ตลอดจนช่วยในการวางแผนมรดก(Estate Planning)
เราเริ่มเปิดการสัมมนาเวลา 9.00น.โดยมีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมาให้ข้อคิดและแนวทาง คำพูดนึงที่สมาชิกได้ฟังแล้วสะท้อนถึงกิจกรรมต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นก็คือ
"การเรียนรู้เพื่อไปสู่ MDRT นั้น มันอาจไม่สนุก...แต่พวกเราต้องมี Mind Set ที่ถูกต้องนั่นคือ การฝึกฝนต่างๆ ที่ได้พบล้วนผ่านความรักจากโค้ชที่อยากเห็นสมาชิกทุกคนประสพความสำเร็จ ความสนุกสนานจะเกิดขึ้นได้ก็จะต้องมาจากเพื่อนสมาชิกที่ร่วมสร้างกันขึ้นมา"
ในการเป็นตัวแทนที่ปรึกษาทางการเงินที่ Qualify MDRT นั้นนอกจากการขายประกันชีวิตและบริการลูกค้าเป็นอย่างดีแล้ว เครื่องมือที่ช่วยให้ตัวแทนฯทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ขึ้นก็คือการมีใบอนุญาตแนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์(IC License) ที่นำไปขึ้นทะเบียนกับ ก.ล.ต. สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไทย ซึ่งจะทำให้เราได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับความจำเป็นของลูกค้ามากยิ่งขึ้น เช่นกองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตราสารทุน ทั้งในและต่างประเทศเป็นต้น
นอกเหนือไปจากการมีใบอนุญาตการขายประกันจากบริษัทประกันชีวิตและใบอนุญาตแนะนำการลงทุนด้านหลักทรัพย์แล้ว ผู้ที่จะมีรูปแบบการทำงานในระดับ MDRT จะต้องมีความสามารถในขั้นกว่า นั่นคือ การจบหลักสูตรการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน/นักวางแผนการเงินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกหลักสูตรดังต่อไปนี้
1. หลักสูตร CFP (Certified Financial Planning) นักวางแผนการเงิน ซึ่งรับรองโดยสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย(Thailand Financial Planner Association) หรือจบหลักสูตร AFPT (Associate Financial Planner Thailand) ที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตหรือที่ปรึกษาด้านการลงทุน ก็ถือว่ามีความเชี่ยวชาญที่เพียงพอในการแนะนำลูกค้าให้ได้ตามเป้าหมายชีวิต
2. หลักสูตร FchFP (Fellow Chartered Financial Practitioner) ที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งจัดโดยสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินไทย(Thai Association of Insurance and Financial Advisors_ThaiFA) และรับรองโดย สมาคมนักบริการทางการเงินแห่งเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Financial Services Association-APFinSA)
3. หลักสูตร RFC ที่ปรึกษาทางการเงิน(Registered Financial Consultant) ซึ่งมีเนื้อหาสาระและหลักการเกือบจะเหมือนกันทั้งหมดกับ 2 หลักสูตรข้างต้น หลักสูตร RFC ได้ถูกนำเข้ามาจัดอบรมโดยสมาคมตัวแทนประกันชีวิต(ในสมัยนั้น)ใน ปี 2549 ในด้านความรู้นั้นอาจมีรายละเอียดแตกต่างออกไปบ้างเพียงเล็กน้อย แต่ความแตกต่างที่สำคัญคือระยะเวลาในการอบรมกับใครหรือสถาบันใดเป็นผู้จัดอบรมหรือรับรองคุณวุฒิ มีหลักฐานเผยแพร่ของสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินดังนี้ " หลักสูตร RFC (Registered Financial Consultant) จากสมาคม IARFC (International Association Registered Financial Consultant) นับเป็น หลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงินหลักสูตรแรกที่เปิดสอนในประเทศไทย แต่ต่อมาสมาคมพบว่าหลักสูตร RFC ที่เปิดสอนนั้นเป็นหลักสูตรเร่งรัด ใช้เวลาเรียนเพียง 5 วัน ยากที่ตัวแทนจะเข้าใจเนื้อหาได้โดยละเอียด เป็นหลักสูตรที่เพียงให้ผู้เรียนได้เห็นภาพกว้างๆเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถ พัฒนาให้ตัวแทนประกันชีวิตไปเป็นที่ปรึกษาการเงินได้อย่างที่คาดหวัง ประกอบกับในเวลานั้น ทางสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเซียแปซิฟิค (APFinSA หรือ APLIC ในอดีต) ได้พัฒนาหลักสูตรที่ปรึกษาการเงินขึ้นมาใหม่ ชื่อ FChFP ( Fellow Chartered Financial Practitioner) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่สมบูรณ์และเหมาะกับตัวแทนประกันชีวิต ทางสมาคมจึงได้ตัดสินใจ ยุติความร่วมมือกับสมาคม IARFC แล้วหันมานำเข้าหลักสูตร FChFP เพื่อเปิดอบรมแทน หลักสูตร FChFP เป็นความร่วมมือระหว่างสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและสมาคมที่ปรึกษาการเงินแห่งเอเซียแปซิฟิค ( APFinSA ) ในการร่วมกันจัดอบรมให้กับผู้สนใจ เนื้อหาตำรานำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ โดยมีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยและผู้ทรงวุฒิจากสถาบันต่างๆ เป็นผู้สอน แบ่งเป็น 6 กลุ่มวิชาๆละ 30 ชั่วโมง จึงทำให้สมาคมมั่นใจว่า ผู้เรียนจะสามารถเก็บเกี่ยวและทำความเข้าใจเนื้อหาได้อย่างเต็มที่... จึงได้มีการเปิดสอน หลักสูตรนี้ ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2550 และมีการเปิดเปิดสอนในอีกหลายรุ่นถัดมา"
เมื่อทำความเข้าใจในหลักการ อย่างมั่นคงแน่นหนาแล้วก็ถึงภาคปฏิบัติ โดยสโมสรนี้มีการผสมผสานการอบรม, การสัมมนา, Case Study, และ Group Study เข้ามาไว้ด้วยกัน และเพื่อให้การเรียนรู้มีความเข้มข้น สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เราจึงติดตั้งระบบพี่เลี้ยง (Mentor) ขึ้นมา
ระบบ Mentor นี้ได้ถูกออกแบบและใช้งานจริงในสโมสร MDRT โดยข้อตกลงความร่วมมือกันของสมาชิก MDRT ที่เป็นผู้บริหารทีมงานขายได้อย่างประสพความสำเร็จระดับสูงและร่วมกันก่อตั้งสโมสร GAMA สมาคมผู้จัดการและเจ้าของสำนักงานตัวแทนขึ้นมา(ที่สหรัฐอเมริกา) เพื่อให้สมาชิก MDRT ได้มีโอกาสช่วยเหลือ "ว่าที่" MDRT คนต่อไป เราได้ปรับวิธีการใช้ระบบพี่เลี้ยงให้เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกและเหมาะสมกับความสามารถของโค้ช
ปีที่ผ่านมาในสโมสรของเรามีสมาชิกติดคุณวุฒิ MDRT จำนวน 3 ท่านได้แก่คุณรัตนา กมลงามพิพัฒน์(ติดMDRT เป็นครั้งที่3),คุณอารีรัตน์ ตั้งเด่นชัย&คุณไตรรงค์ สุวรรณรัตน์ คู่สามีภรรยาที่ช่วยกันได้อย่างดี,คุณฤกษ์วรุณณ์ บวรสิทธิรักษ์ เราจึงได้แต่งตั้งบุคคลสำคัญดังกล่าวเป็นโค้ช(Coach) ให้กับสมาชิกในการสัมมนา10ครั้งนี้โดยมีคุณชำนาญ จองพิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมและสัมมนามายาวนาน กว่า25ปีเป็น Moderator&Coach ช่วยดำเนินรายการหลักและเป็นที่ปรึกษาให้กับโค้ชรวมทั้งสมาชิกเมื่อมีความต้องการ
บรรยากาศของสโมสรมีความตื่นเต้นมากขึ้น เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกมาแนะนำตัวและบอกถึงวัตถุประสงค์ว่าเพราะอะไรจึงมาเข้าสโมสรนี้? แล้วโค้ชทั้ง 3 คนจะเป็นผู้คัดเลือกสมาชิกที่ "มีเคมีตรงกัน" มีแววว่าจะสามารถแนะนำฝึกฝน ยกระดับทักษะและจิตใจจนติดคุณวุฒิ MDRT ได้เข้าร่วมทีม จนเมื่อจบชั่วโมงเราจึงมี 3 ทีมๆ ละ 5-6 คนที่มุ่งมั่นเป็น MDRT!!!
ลักษณะการจัดกิจกรรมสำคัญในนามสโมสร MDRT IFA (Independent Financial Advisor) ได้ถูกส่งมอบภาระกิจสำหรับการพบกันในครั้งต่อไปคือ
1. การสรุปกิจกรรมการทำงานประจำสัปดาห์ 12 หัวข้อ เริ่มจากการมีรายชื่อแนะนำเพื่อการเข้าพบไปจนถึงจำนวนชั่วโมงทำงานในแต่ละสัปดาห์โดยมี"ตัวเลขสำคัญ" ที่ใช้เป็นค่ามาตรฐานกลาง Benchmark ซึ่งนำมาจากค่าเฉลี่ยของโค้ชทั้ง 3 ท่านที่ติดคุณวุฒิ MDRT ในปีที่ผ่านมาเป็นตัวเปรียบเทียบ
2. การมอบหมายให้สมาชิก"จับคู่" เพื่อทำ Financial Analysis&Advise ตามแบบอย่างของหลักสูตรที่ปรึกษาทางการเงินที่กล่าวมาข้างต้น โดยให้สลับกันเป็นลูกค้าและที่ปรึกษาทางการเงินในครั้งต่อๆไป แล้วมานำเสนอที่สโมสรว่าเมื่อพูดคุยสอบถามเป้าหมายและความต้องการของลูกค้าแล้วที่ปรึกษาฯมีวิธีเก็บข้อมูลอย่างไร ?อัตราส่วนทางการเงินต่างๆเป็นอย่างไร? ข้อแนะนำเพื่อให้ลูกค้านำไปปฏิบัติจริงในแต่ละเป้าหมายของเขามีอะไรบ้าง? ที่สำคัญลูกค้าเข้าใจและเต็มใจนำข้อแนะนำนั้นไปปฏิบัติมากน้อยเพียงไร?
3. การมอบหมายภาระกิจ "การใส่ใจ" เราขออาสาสมัครที่จะจัดเตรียมอาหารเบรคสำหรับการสัมมนาในครั้งต่อไป เป็นกิจกรรมเล็กๆ ที่มีความหมายกว้างขวาง เนื่องจากสมาชิกจะได้ฝึกฝนและแบ่งปันจิตใจการเป็น"ผู้ให้" แก่เพื่อนๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็นตัวแทนที่ดีที่รักและ"รู้ใจ"ผู้คนที่เขาติดต่อด้วย
ปิดการสัมมนาสโมสร MDRT IFA ครั้งที่ 1 เวลา 12.00 น.ด้วยการถ่ายภาพหมู่ที่ป้ายแห่งความสำเร็จคือ MDRT และถ่ายภาพหมู่สำหรับทีมโค้ชพี่เล็ก(รัตนา),ทีมโค้ชโอ๋(อารีรัตน์)และทีมโค้ชปอนด์(ฤกษ์วรุณณ์)!!!
#MDRT IFA
#สร้างนิสัย MDRT ได้ใน10สัปดาห์
ชำนาญ จองพิพัฒน์& รัตนา กมลงามพิพัฒน์
MDRT Moderator&Coach
14/7/2016
FB Fanpage : MDRT IFA
Line@uwq1735i : MDRT IFA
http://line.me/ti/p/@uwq1735i
Written in this book
สร้างนิสัยMDRTได้ใน10สัปดาห์
Writer
ChamnanJ
MDRTiFA Coach ,Invester,Writer
Senior Distric Manager_TEAMCHART AIA
ผมจบการศึกษาด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ในระดับปริญญาตรีและโทที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีความสนใจพิเศษในด้านนิเทศศาสตร์และจิตวิทยา
เริ่มต้นทำงานในด้านการฝึกอบรมตัวแทนที่ AIA รวมทั้งฝ่ายบริหารตัวแทน
ตำแหน่งสุดท้ายคือผู้อำนวยการตัวแทน
เมื่อลาออกมาเป็นผู้บริหารทีมงานขายก็ได้ทำหน้าที่ด้านการฝึกอบรมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
จาก Trainnng Advisor,Premier Agency Trainning
งานในฐานะ Moderator เริ่มต้นเมื่อปี 2551 ในหลักสูตรของ Limra's Crossroad และ
โดยเฉพาะ Agency Management Trainning Course (AMTC 23 ครั้ง)
เมื่อมารับผิดชอบ Sales Builder ผมก็นำมาใช้กับกลุ่ม MDRT และประสบความสำเร็จอย่างมากที่เชียงใหม่
มีตัวแทน MDRT 3 คนในปีแรก 6,8,10 และ16 คนในปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันทำหน้าที่ผู้ดำเนินการสัมมนาหลักสูตร High Trust Financial Advisor
เพื่อมอบตัวแทนนักวางแผนการเงินอิสระให้สามารถช่วยลูกค้าได้อย่างเป็นมืออาชีพและมีจรรยาบรรณ
งานเขียนส่วนใหญ่เขียนจากประสบการณ์ตรงจากตนเองและประสบการณ์ของ คุณรัตนา กมลงามพิพัฒน์
7MDRT,FchFP,RFC ผู้ซึ่งมีอายุการทำงานเป็นตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาทางการเงินมากว่า 29ปี
และได้วางแผนการเงินส่วนบุคคลให้ลูกค้าแล้วจำนวนมาก
ได้รับรางวัล Prime Minister's insurance Award ติดต่อกัน 7ปี 2553-2558,2561
จากนายกรัฐมนตรีไทย (คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร,พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา)
ภาพประกอบการเขียนส่วนใหญ่นำมาจากอินเตอร์เน็ตขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
งานเขียนแรกเริ่มต้นเดือนเมษายนเป็นต้นมาในหนังสือที่ใช้ชื่อว่า
" สร้างนิสัย MDRT ได้ใน 10 สัปดาห์" และเดือนพฤศจิกายน
เรื่อง "การเงินมั่งคั่ง:ชีวิตดี๊ดีถ้ารู้อย่างนี้ตั้งแต่อายุ 25"
โดยเป็นบทความเกี่ยวกับแนวคิด ความรู้สึกและนิสัยของคนที่ประสบความสำเร็จ
รวมทั้งทิปเกี่ยวกับการวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ทำได้จริงในภาคปฎิบัติ
หากเพื่อนๆ มีข้อแนะนำเชิญ Inbox มาได้เลยครับ
ขอขอบคุณผู้สร้าง Storylog และเหล่านักเขียนทั้งหลายที่สร้างที่ที่พวกเราได้มารู้จักกันผ่านตัวหนังสือ