
เรื่องเล่าจากคนทำหนังสือมือใหม่
ผมชอบฟังคำติมากกว่าคำชม
เพียงแต่ผมอยากฟังคำติที่ทำให้ผมพัฒนาได้
มากกว่าคำติที่มุ่งแต่จะทำลาย
ตั้งแต่ทำงานหนังสือมาประมาณ 5 ปี
3 ปีแรกทำแบบไม่เต็มตัว 2 ปีหลังคือลงมาทำเป็นหลัก
ผมมีโอกาสได้ทำในส่วนของการแปล และการเป็นบรรณาธิการ
ผมได้รับทั้งคำชม และคำติมาอยู่จำนวนหนึ่ง
คำชมและคำติหลาย ๆ อัน คือสิ่งที่ยังทำให้ผมสู้อยู่ถึงทุกวันนี้
แต่คำติบางอัน มันทำให้ผมไม่สบายใจจนนอนไม่หลับ
เร็ว ๆ นี้ผมได้รับคำติที่พูดถึงการแปลที่ผิดพลาด
มันเป็นประเด็นที่ผมยังเอาออกจากหัวไม่ได้ แต่ก็พยายามจะนำไปปรับปรุงตัวเองต่อไปในอนาคต
คำตินั้นพูดถึงการแปลที่ผิดพลาดของผมจุดหนึ่ง ซึ่งผมก็อยากรู้ว่ามันผิดพลาดตรงไหน ผมอยากรู้ว่าควรแก้ไขเป็นอย่างไร และมุมมองของนักอ่านท่านนั้นเขาคิดว่ามันควรจะถอดความเป็นอย่างไร ว่ากันง่าย ๆ คืออยากสนทนา
ผลคือมันเป็นเรื่องที่ฟังต่อ ๆ กันมา เลยไม่รู้ว่ามันควรแก้ไขอย่างไร
แต่มันก็ทำให้ผมกลับมาคิดจนปล่อยวางได้ลำบาก เพราะจริง ๆ แล้วกรณีแบบนี้มันไม่ใช่แค่การเกิดขึ้นครั้งแรก แต่มันเคยเกิดมาแล้วผ่านช่องทางอื่น ๆ อย่าง Social Network ของ สนพ. ของผม ยิ่งไปกว่านั้น มันไม่ได้เกิดขึ้นกับผมเพียง สนพ. เดียว แต่มันเกิดกับ สนพ. แทบจะทุกแห่ง
.................................................................................................
มุมมองของนักอ่านพันธุ์ใหม่
ในฐานะที่เคยเป็นนักอ่านมาเหมือนกัน และวันนี้ก็ยังเป็นนักอ่านอยู่ หลาย ๆ ครั้งผมก็เจอข้อผิดพลาดที่ขัดใจจนต้องไปค้นหาข้อมูลจากพจนานุกรม และอินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้ง
แต่ทุก ๆ ครั้งผมจะไม่ได้ตีฆ้องร้องป่าวอะไรมากมายนัก.. หรือมันอาจจะเป็นเพราะยุคที่ผมเริ่มเป็นนักอ่านมันไม่มีเครื่องมือส่งเสียงที่ทำหน้าที่ได้อย่าง Social Network อย่างทุกวันนี้
เริ่มต้นที่มุมของนักแปลก่อน ผมมองว่านักแปลแต่ละท่านมีสไตล์ มีเสน่ห์ของภาษาที่แตกต่างกันไป และมีจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นไม่มีเกณฑ์อะไรว่าใครดีกว่า แต่ผมคิดว่าการแปลที่ดีนั้น มันคือการแปลแบบที่เราชอบเสียมากกว่า ดังนั้นอะไรที่เราชอบ คนอื่นก็อาจจะไม่ชอบก็ได้
แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความถูกผิดของภาษา เพราะหน้าที่ของนักแปลต้องอ่านให้แตก เคี้ยวแล้วคายออกมาเป็นประโยคที่ตรงตามความตั้งใจของผู้เขียน
สรรพนามที่ควรจะเป็น "กู" มันก็ต้องเป็น "กู" จะดัดจริตเป็น "ผม" ก็ไม่ใช่ไม่ควร
สรรพนามคนละระดับอย่าง "ผม" ที่นำมาใช้กับ "แก" หรือ "มึง" อะไรแบบนี้ก็ไม่ใช่เหมือนกัน
หรือแม้กระทั่งการนำคำศัพท์ผิดสมัยมาใช้ผมก็ว่ามันไม่ถูก อย่างนิยายวิทยาศาสตร์ทันสมัยในยุคอนาคต จะมาใช้ภาษาโบราณแบบละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ก็คงประหลาด
และตัวสะกดภาษาไทยที่ถอดออกมา ก็ควรจะถูกต้องตามพจนานุกรมภาษาไทยอย่างมากที่สุด
ฯลฯ
เรื่องความถูกต้องเหล่านี้ ควรจะเป็นเรื่องหลักของการแปล
มาถึงเรื่องของนักอ่าน ผมเชื่อว่ามีนักอ่านระดับกูรูเกิดขึ้นมากในยุค Social Media แบบทุกวันนี้ และกูรูเหล่านี้ก็ล้วนต้องการมีตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นจากอ่านเพื่ออรรถรสล้วน ๆ จึงอาจจะมีเรื่องของการอ่านเพื่อจับผิดปนอยู่บ้าง แม้จะไม่ได้ตั้งใจจับผิดแต่แรก แต่ด้วยความที่โลก Social หล่อหลอมให้คนเราอยากส่งเสียงอยู่ตลอดเวลา พอเจอเรื่องที่ผิดใจ ความเป็นผู้พิพากษาแห่งโลกซึ่งเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรมของเราจึงอยากบอกเรื่องที่ถูกให้กับทุกคน (และอยากให้ทุกคนชื่นชมที่เราหาประเด็นนั้นเจอ)
จึงเป็นที่มาของบทวิจารณ์อันชาญฉลาดมากมาย ซึ่งหลาย ๆ อันก็ชาญฉลาดจริง ๆ แต่หลาย ๆ อันก็เป็นความพยายามที่จะชาญฉลาดอย่างสุดตัว
.................................................................................................
จุดผิดพลาดที่อาจจะเกิดจากความไม่ตั้งใจ..เก็บไว้พัฒนา
ดูแล้วมันเป็นการแก้ตัว ซึ่งมันก็เป็นการแก้ตัวจริง ๆ น่ะแหละ แต่มันควรเป็นสิ่งที่จะต่อยอดไปเพื่อการพัฒนาสำหรับนักแปล และบรรณาธิการทุกคน
เพราะจริง ๆ แล้ว คนทำหนังสือควรทำให้มีความผิดพลาดให้น้อยที่สุดอยู่ดี
ผมพูดในมุมที่ว่าคนทำหนังสือควรจะพัฒนาตัวเองเสมอ และเปิดใจให้กว้างเพื่อการแก้ไข
ผมยกตัวอย่างของตัวเอง ในกองผมมีคนทำงานอ่านหนังสืออยู่ 2 คน ผมคือหนึ่งในนั้น เราอ่านด้วยตา 2 คู่ ทำแล้วทำอีกรวมสิบรอบ ก็ยังดันผิดพลาดอะไรอยู่อีกหลาย ๆ จุด นี่ยังไม่นับสายตาของนักแปลที่เขาก็ผ่านตามาแล้วหลายครั้งเหมือนกัน แต่คนอ่านหนังสือของเรามีเป็นพัน สายตาเป็นพันคู่ย่อมละเอียดกว่าเราแน่นอน เขาจึงเจอข้อผิดพลาดและข้อไม่ถูกใจ
นี่คือจุดที่เราต้องพัฒนาในฐานะคนทำหนังสือ
แต่อาจจะต้องรบกวนผู้อ่านขอคำติเบา ๆ สุภาพ ๆ หน่อยก็ดี
ผมเชื่อว่าคำติเพื่อก่อนั้นมันดีอยู่แล้ว
ผมเคยถูกติตัวสะกดในหนังสือเล่มแรก พอเล่มที่สองผมก็ได้นำจุดนั้นมาแก้ไข ดังนั้นผมเลยชอบคำติ
น่าเสียดายที่คำติโดยมากมันจะเป็นการโจมตีที่เผ็ดร้อน และหลาย ๆ ครั้งก็นำไปพัฒนาต่อได้ลำบาก เพราะคนติเขาแค่โผล่มาติ แต่เขาไม่อยู่คุยกับเราเพื่อให้โอกาสเราแก้ไขไปด้วยกัน
ในมุมมองของคนที่พึ่งผันตัวเองมาทำหนังสือแบบผม ผมเลยเชื่อว่า
คนอ่านติได้ และควรติ แต่ติอย่างสร้างสรรค์
และคนทำหนังสือควรเปิดใจกว้างรับฟังคำติ เพื่อพัฒนาตัวเอง
ผมเชื่อว่ามันอาจจะทำได้ไม่ง่าย แต่ต้องทำเพื่อพัฒนาวงการหนังสือให้แข็งแรงขึ้น
ผมชอบฟังคำติมากกว่าคำชม
เพียงแต่ผมอยากฟังคำติที่ทำให้ผมพัฒนาได้
มากกว่าคำติที่มุ่งแต่จะทำลาย
ตั้งแต่ทำงานหนังสือมาประมาณ 5 ปี
3 ปีแรกทำแบบไม่เต็มตัว 2 ปีหลังคือลงมาทำเป็นหลัก
ผมมีโอกาสได้ทำในส่วนของการแปล และการเป็นบรรณาธิการ
ผมได้รับทั้งคำชม และคำติมาอยู่จำนวนหนึ่ง
คำชมและคำติหลาย ๆ อัน คือสิ่งที่ยังทำให้ผมสู้อยู่ถึงทุกวันนี้
แต่คำติบางอัน มันทำให้ผมไม่สบายใจจนนอนไม่หลับ
เร็ว ๆ นี้ผมได้รับคำติที่พูดถึงการแปลที่ผิดพลาด
จากคนที่ฟังมาจาก..อีกคน..อีกที
มันเป็นประเด็นที่ผมยังเอาออกจากหัวไม่ได้ แต่ก็พยายามจะนำไปปรับปรุงตัวเองต่อไปในอนาคต
คำตินั้นพูดถึงการแปลที่ผิดพลาดของผมจุดหนึ่ง ซึ่งผมก็อยากรู้ว่ามันผิดพลาดตรงไหน ผมอยากรู้ว่าควรแก้ไขเป็นอย่างไร และมุมมองของนักอ่านท่านนั้นเขาคิดว่ามันควรจะถอดความเป็นอย่างไร ว่ากันง่าย ๆ คืออยากสนทนา
ผลคือมันเป็นเรื่องที่ฟังต่อ ๆ กันมา เลยไม่รู้ว่ามันควรแก้ไขอย่างไร
แต่มันก็ทำให้ผมกลับมาคิดจนปล่อยวางได้ลำบาก เพราะจริง ๆ แล้วกรณีแบบนี้มันไม่ใช่แค่การเกิดขึ้นครั้งแรก แต่มันเคยเกิดมาแล้วผ่านช่องทางอื่น ๆ อย่าง Social Network ของ สนพ. ของผม ยิ่งไปกว่านั้น มันไม่ได้เกิดขึ้นกับผมเพียง สนพ. เดียว แต่มันเกิดกับ สนพ. แทบจะทุกแห่ง
.................................................................................................
มุมมองของนักอ่านพันธุ์ใหม่
ในฐานะที่เคยเป็นนักอ่านมาเหมือนกัน และวันนี้ก็ยังเป็นนักอ่านอยู่ หลาย ๆ ครั้งผมก็เจอข้อผิดพลาดที่ขัดใจจนต้องไปค้นหาข้อมูลจากพจนานุกรม และอินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้ง
แต่ทุก ๆ ครั้งผมจะไม่ได้ตีฆ้องร้องป่าวอะไรมากมายนัก.. หรือมันอาจจะเป็นเพราะยุคที่ผมเริ่มเป็นนักอ่านมันไม่มีเครื่องมือส่งเสียงที่ทำหน้าที่ได้อย่าง Social Network อย่างทุกวันนี้
เริ่มต้นที่มุมของนักแปลก่อน ผมมองว่านักแปลแต่ละท่านมีสไตล์ มีเสน่ห์ของภาษาที่แตกต่างกันไป และมีจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังนั้นไม่มีเกณฑ์อะไรว่าใครดีกว่า แต่ผมคิดว่าการแปลที่ดีนั้น มันคือการแปลแบบที่เราชอบเสียมากกว่า ดังนั้นอะไรที่เราชอบ คนอื่นก็อาจจะไม่ชอบก็ได้
แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความถูกผิดของภาษา เพราะหน้าที่ของนักแปลต้องอ่านให้แตก เคี้ยวแล้วคายออกมาเป็นประโยคที่ตรงตามความตั้งใจของผู้เขียน
สรรพนามที่ควรจะเป็น "กู" มันก็ต้องเป็น "กู" จะดัดจริตเป็น "ผม" ก็ไม่ใช่ไม่ควร
สรรพนามคนละระดับอย่าง "ผม" ที่นำมาใช้กับ "แก" หรือ "มึง" อะไรแบบนี้ก็ไม่ใช่เหมือนกัน
หรือแม้กระทั่งการนำคำศัพท์ผิดสมัยมาใช้ผมก็ว่ามันไม่ถูก อย่างนิยายวิทยาศาสตร์ทันสมัยในยุคอนาคต จะมาใช้ภาษาโบราณแบบละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ก็คงประหลาด
และตัวสะกดภาษาไทยที่ถอดออกมา ก็ควรจะถูกต้องตามพจนานุกรมภาษาไทยอย่างมากที่สุด
ฯลฯ
เรื่องความถูกต้องเหล่านี้ ควรจะเป็นเรื่องหลักของการแปล
มาถึงเรื่องของนักอ่าน ผมเชื่อว่ามีนักอ่านระดับกูรูเกิดขึ้นมากในยุค Social Media แบบทุกวันนี้ และกูรูเหล่านี้ก็ล้วนต้องการมีตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต
ดังนั้นจากอ่านเพื่ออรรถรสล้วน ๆ จึงอาจจะมีเรื่องของการอ่านเพื่อจับผิดปนอยู่บ้าง แม้จะไม่ได้ตั้งใจจับผิดแต่แรก แต่ด้วยความที่โลก Social หล่อหลอมให้คนเราอยากส่งเสียงอยู่ตลอดเวลา พอเจอเรื่องที่ผิดใจ ความเป็นผู้พิพากษาแห่งโลกซึ่งเปี่ยมไปด้วยความยุติธรรมของเราจึงอยากบอกเรื่องที่ถูกให้กับทุกคน (และอยากให้ทุกคนชื่นชมที่เราหาประเด็นนั้นเจอ)
จึงเป็นที่มาของบทวิจารณ์อันชาญฉลาดมากมาย ซึ่งหลาย ๆ อันก็ชาญฉลาดจริง ๆ แต่หลาย ๆ อันก็เป็นความพยายามที่จะชาญฉลาดอย่างสุดตัว
.................................................................................................
จุดผิดพลาดที่อาจจะเกิดจากความไม่ตั้งใจ..เก็บไว้พัฒนา
ดูแล้วมันเป็นการแก้ตัว ซึ่งมันก็เป็นการแก้ตัวจริง ๆ น่ะแหละ แต่มันควรเป็นสิ่งที่จะต่อยอดไปเพื่อการพัฒนาสำหรับนักแปล และบรรณาธิการทุกคน
เพราะจริง ๆ แล้ว คนทำหนังสือควรทำให้มีความผิดพลาดให้น้อยที่สุดอยู่ดี
ผมพูดในมุมที่ว่าคนทำหนังสือควรจะพัฒนาตัวเองเสมอ และเปิดใจให้กว้างเพื่อการแก้ไข
ผมยกตัวอย่างของตัวเอง ในกองผมมีคนทำงานอ่านหนังสืออยู่ 2 คน ผมคือหนึ่งในนั้น เราอ่านด้วยตา 2 คู่ ทำแล้วทำอีกรวมสิบรอบ ก็ยังดันผิดพลาดอะไรอยู่อีกหลาย ๆ จุด นี่ยังไม่นับสายตาของนักแปลที่เขาก็ผ่านตามาแล้วหลายครั้งเหมือนกัน แต่คนอ่านหนังสือของเรามีเป็นพัน สายตาเป็นพันคู่ย่อมละเอียดกว่าเราแน่นอน เขาจึงเจอข้อผิดพลาดและข้อไม่ถูกใจ
นี่คือจุดที่เราต้องพัฒนาในฐานะคนทำหนังสือ
แต่อาจจะต้องรบกวนผู้อ่านขอคำติเบา ๆ สุภาพ ๆ หน่อยก็ดี
ผมเชื่อว่าคำติเพื่อก่อนั้นมันดีอยู่แล้ว
ผมเคยถูกติตัวสะกดในหนังสือเล่มแรก พอเล่มที่สองผมก็ได้นำจุดนั้นมาแก้ไข ดังนั้นผมเลยชอบคำติ
น่าเสียดายที่คำติโดยมากมันจะเป็นการโจมตีที่เผ็ดร้อน และหลาย ๆ ครั้งก็นำไปพัฒนาต่อได้ลำบาก เพราะคนติเขาแค่โผล่มาติ แต่เขาไม่อยู่คุยกับเราเพื่อให้โอกาสเราแก้ไขไปด้วยกัน
ในมุมมองของคนที่พึ่งผันตัวเองมาทำหนังสือแบบผม ผมเลยเชื่อว่า
คนอ่านติได้ และควรติ แต่ติอย่างสร้างสรรค์
และคนทำหนังสือควรเปิดใจกว้างรับฟังคำติ เพื่อพัฒนาตัวเอง
ผมเชื่อว่ามันอาจจะทำได้ไม่ง่าย แต่ต้องทำเพื่อพัฒนาวงการหนังสือให้แข็งแรงขึ้น
Writer
bangkokian
part time teenager
The greatness of art is not to find what is common but what is unique.