วลีหัวเรื่อง มาจาก Assassin's Creed 2 ภาคที่ถูกกล่าวขวัญว่าสนุกที่สุดในบรรดาซีรี่ย์ภาคีนักฆ่าแล้วครับ ยังมีภาคต่อเป็น Assassin's Creed 2 : Brotherhood ปิดไตรภาคก่อนขึ้นภาค 3 ของซีรี่ย์นี้ด้วยชื่อ Assassin's Creed 2 : Revalation ครับ
ประโยคนี้มาถึงผมและ Ezio Auditore de Firenze (จากนี้เรียกว่า Ezio นะครับ) เมื่อเราเล่นเนื้อเรื่องมาจนเกือบจะจบเกมแล้วและได้รับการยอมรับจากภาคีนักฆ่าที่คอยสอดส่องชีวิตของ Ezio มาจนถึงภารกิจหนึ่งที่เป็นพิธีกรรมของพวกเขาบนหอระฆังสูงแห่งหนึ่งที่ Ezio ต้องปีนขึ้นไป
ทุกคนกล่าวต้อนรับและนำเหล็กร้อนนาบตราแหวนให้เป็นรอยไหม้ที่นิ้วเขาพร้อมสอนประโยคที่สำหรับนักฆ่าหนุ่มนายนี้
นี่คือปรัชญาแห่งนักฆ่าที่ Ezio ได้รับ ผมได้สัมผัสความเข้าใจนี้ที่ตอบข้อกังขาในใจมาเนิ่นนาน จนกระทั่งเล่นเกมนี้จบไปภาคหนึ่งเมื่อปีกลาย (และรอ Brotherhood ลดราคาใน Steam อยู่... บ้าจริงจะขี้เหนียวไปไหนนะ Ubisoft)
ชัดเจนในตัว ปรากฏให้เห็นทุกวันบนหน้าหนังสือพิมพ์เป็นตัวอย่างของสิ่งนี้ คุณกล้าฆ่าหรือปล้นชิงทรัพย์เขาแล้ว ดังนั้นคุณต้องรับผลกรรมจากธรรมชาติที่วิ่งกลับมาหาคุณให้เร็วเหมือนกรรมติดจรวด
เพราะธรรมชาตินั้นซื่อตรงยิ่งกว่าอะไรดี ไม่โดนเงินอุดปากและไม่รับการ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ใด ๆ
ใช่ คุณทุกคนรวมถึงผมด้วยได้รับอนุญาตให้ทำทุกสิ่งในโลกนี้แต่ต้องยอมรับผลที่ตามมาให้ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้เราเลยเห็นพระเอกของ TAKEN (ชื่ออะไรนะ...) ไล่เตะผู้ร้ายไตรภาค John Wick ที่ถล่มมาเฟียที่ทำร้ายสิ่งที่เขารักจนกระจุยกระจาย
เพราะพวกเขานึกว่าผลของการกระทำนี้มันเรื่องเล็ก ๆ พวกเขารับมือได้... แต่เปล่า นั่นมันพระเอกที่มีสกิลพระเอกและผู้กำกับช่วยแถให้มันรอดจนกว่าหนังจะจบเลยนะ!
ถ้าผมมุดเข้าไปในหนังได้ ผมคงวิ่งไปขายข่าวให้พวกตัวร้ายมีโอกาสชนะพระเอกเพิ่มขึ้นนิดหน่อย อย่างน้อยแทนที่จะจบใน 105 นาที ยืดเป็น 130 นาทีก็ยังน่าสนุก...
กลับมาสักนิด ซึ่งการเรียกร้องสิทธิ์ถึงจะทำได้แต่เมื่อคุณเป็นตัวร้ายที่ทำเขาก่อนก็อย่าไปหวังมันเลย เพราะคุณโดนสังคมตีตราจบแล้ว
พวกเราได้รับสิทธิ์การกระทำสิ่งใด ๆ ในโลก รวมทั้งการกระทำผิดใด ๆ ก็ตาม คนไร้การหักห้ามใจหรือพิจารณาผิดชอบชั่วดี, ตรรกะป่วยหรือที่เข้าข่ายย่อมไม่เข้าใจมันแน่นอน คุณทุกคนรวมถึงผมสามารถร่วงหล่นสู่สถานะนั้นได้เช่นกัน
แต่วิธีหนึ่งที่กั้นเราจากสิ่งนั้นได้ง่าย ๆ เป็นคำพยางค์เดียวเท่านั้น
การมีความเจ็บร่วมกับผู้อื่นนั่นแหละครับคือการกั้นฉากบาง ๆ ระหว่างเรากับเราที่เลวร้ายได้
สมมติมีกระเป๋า Giorgio Armani (ผมเขียนชื่อแบรนด์นี้ถูกแบรนด์เดียวเอง เลยเอามายกตัวอย่าง...) พร้อมเงินปึกเรือนแสนตกอยู่กลางถนน คุณจะทำอย่างไร?
เก็บไว้อยู่แล้ว แต่จะเอาไปทางใด? ถามหาเจ้าของที่ป้อมตำรวจไหม? หรือจะตีเนียนเอาไว้เอง?
ซึ่งถ้าคุณ "เจ็บ" ร่วมกับเจ้าของกระเป๋า ว่าถ้าเงินนี้เป็นเงินที่จะเอาไปจ่ายเงินเดือนลูกน้องในออฟฟิศและกระเป๋าใบเก่งที่แลกเหงื่อต่างน้ำมันหายไป
เขาจะ "เจ็บ" ขนาดไหน? ถ้าเราโดนกับตัวเอง เราจะเจ็บขนาดไหน?
ถ้าคุณ "เจ็บ" ร่วมกับเจ้าของกระเป๋า คุณคงไม่เอาไปไว้เองอยู่แล้วครับ จริงไหม?
อ้อ! การอธิบายความเจ็บนี้ ผมยกเครดิตให้คุณหยาด เจ้าของช่อง Youtube "9th Teardrop" คลิป Tom Clancy's : The Division ตอนที่ 10 ไปครับ
ดังนั้นถ้า Nothing is truth, everything is permitted. คือคำจำกัดความของการกระทำหลาย ๆ สิ่งในโลก
ก็อย่าลืมสร้าง Prohibit ให้ตัวเองด้วยนะครับ
ประโยคนี้มาถึงผมและ Ezio Auditore de Firenze (จากนี้เรียกว่า Ezio นะครับ) เมื่อเราเล่นเนื้อเรื่องมาจนเกือบจะจบเกมแล้วและได้รับการยอมรับจากภาคีนักฆ่าที่คอยสอดส่องชีวิตของ Ezio มาจนถึงภารกิจหนึ่งที่เป็นพิธีกรรมของพวกเขาบนหอระฆังสูงแห่งหนึ่งที่ Ezio ต้องปีนขึ้นไป
ทุกคนกล่าวต้อนรับและนำเหล็กร้อนนาบตราแหวนให้เป็นรอยไหม้ที่นิ้วเขาพร้อมสอนประโยคที่สำหรับนักฆ่าหนุ่มนายนี้
Nothing is truth, everything is permitted. "ไม่มีสิ่งใดคือเที่ยงแท้ ทุกสิ่งได้รับอนุญาติแล้ว"
นี่คือปรัชญาแห่งนักฆ่าที่ Ezio ได้รับ ผมได้สัมผัสความเข้าใจนี้ที่ตอบข้อกังขาในใจมาเนิ่นนาน จนกระทั่งเล่นเกมนี้จบไปภาคหนึ่งเมื่อปีกลาย (และรอ Brotherhood ลดราคาใน Steam อยู่... บ้าจริงจะขี้เหนียวไปไหนนะ Ubisoft)
ทุกสิ่งพึงกระทำได้ อนึ่งเมื่อเจ้ายอมรับผลกรรมได้
ชัดเจนในตัว ปรากฏให้เห็นทุกวันบนหน้าหนังสือพิมพ์เป็นตัวอย่างของสิ่งนี้ คุณกล้าฆ่าหรือปล้นชิงทรัพย์เขาแล้ว ดังนั้นคุณต้องรับผลกรรมจากธรรมชาติที่วิ่งกลับมาหาคุณให้เร็วเหมือนกรรมติดจรวด
เพราะธรรมชาตินั้นซื่อตรงยิ่งกว่าอะไรดี ไม่โดนเงินอุดปากและไม่รับการ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ใด ๆ
ใช่ คุณทุกคนรวมถึงผมด้วยได้รับอนุญาตให้ทำทุกสิ่งในโลกนี้แต่ต้องยอมรับผลที่ตามมาให้ได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้เราเลยเห็นพระเอกของ TAKEN (ชื่ออะไรนะ...) ไล่เตะผู้ร้ายไตรภาค John Wick ที่ถล่มมาเฟียที่ทำร้ายสิ่งที่เขารักจนกระจุยกระจาย
เพราะพวกเขานึกว่าผลของการกระทำนี้มันเรื่องเล็ก ๆ พวกเขารับมือได้... แต่เปล่า นั่นมันพระเอกที่มีสกิลพระเอกและผู้กำกับช่วยแถให้มันรอดจนกว่าหนังจะจบเลยนะ!
ถ้าผมมุดเข้าไปในหนังได้ ผมคงวิ่งไปขายข่าวให้พวกตัวร้ายมีโอกาสชนะพระเอกเพิ่มขึ้นนิดหน่อย อย่างน้อยแทนที่จะจบใน 105 นาที ยืดเป็น 130 นาทีก็ยังน่าสนุก...
กลับมาสักนิด ซึ่งการเรียกร้องสิทธิ์ถึงจะทำได้แต่เมื่อคุณเป็นตัวร้ายที่ทำเขาก่อนก็อย่าไปหวังมันเลย เพราะคุณโดนสังคมตีตราจบแล้ว
พวกเราได้รับสิทธิ์การกระทำสิ่งใด ๆ ในโลก รวมทั้งการกระทำผิดใด ๆ ก็ตาม คนไร้การหักห้ามใจหรือพิจารณาผิดชอบชั่วดี, ตรรกะป่วยหรือที่เข้าข่ายย่อมไม่เข้าใจมันแน่นอน คุณทุกคนรวมถึงผมสามารถร่วงหล่นสู่สถานะนั้นได้เช่นกัน
แต่วิธีหนึ่งที่กั้นเราจากสิ่งนั้นได้ง่าย ๆ เป็นคำพยางค์เดียวเท่านั้น
เจ็บ
การมีความเจ็บร่วมกับผู้อื่นนั่นแหละครับคือการกั้นฉากบาง ๆ ระหว่างเรากับเราที่เลวร้ายได้
สมมติมีกระเป๋า Giorgio Armani (ผมเขียนชื่อแบรนด์นี้ถูกแบรนด์เดียวเอง เลยเอามายกตัวอย่าง...) พร้อมเงินปึกเรือนแสนตกอยู่กลางถนน คุณจะทำอย่างไร?
เก็บไว้อยู่แล้ว แต่จะเอาไปทางใด? ถามหาเจ้าของที่ป้อมตำรวจไหม? หรือจะตีเนียนเอาไว้เอง?
ซึ่งถ้าคุณ "เจ็บ" ร่วมกับเจ้าของกระเป๋า ว่าถ้าเงินนี้เป็นเงินที่จะเอาไปจ่ายเงินเดือนลูกน้องในออฟฟิศและกระเป๋าใบเก่งที่แลกเหงื่อต่างน้ำมันหายไป
เขาจะ "เจ็บ" ขนาดไหน? ถ้าเราโดนกับตัวเอง เราจะเจ็บขนาดไหน?
ถ้าคุณ "เจ็บ" ร่วมกับเจ้าของกระเป๋า คุณคงไม่เอาไปไว้เองอยู่แล้วครับ จริงไหม?
อ้อ! การอธิบายความเจ็บนี้ ผมยกเครดิตให้คุณหยาด เจ้าของช่อง Youtube "9th Teardrop" คลิป Tom Clancy's : The Division ตอนที่ 10 ไปครับ
ดังนั้นถ้า Nothing is truth, everything is permitted. คือคำจำกัดความของการกระทำหลาย ๆ สิ่งในโลก
ก็อย่าลืมสร้าง Prohibit ให้ตัวเองด้วยนะครับ
Comments
Palmme
5 years ago
assassin's creed เป็นเกมจากค่าย Ubisoft ครับ แก้นิดนึง
Reply
PsychoPlay
5 years ago
แก้แล้วนะ ขอบคุณมาก ๆ เลยครับ ผมก็ว่ามันติดใจอะไรผิดอยู่ 5555+