
วันนี้หนึ่งในเรื่องที่คนจำนวนมากในโลกจับตามองกันมากที่สุดก็คงไม่พ้นเป็นเรื่องขอการห้ำหั่นระหว่าง Lee Sedol ตัวแทนของมนุษยชาติ และ AlphaGo จาก DeepMind บริษัทลูกของ Google ซึ่งเป็นตัวแทนของ Artificial Intelligence (AI) หรือปัญญาประดิษฐ์ผ่านเกมโกะเกมกระดานที่ซับซ้อนที่สุดในโลกซึ่งผลก็คือ Lee แพ้ไปในเกมแรกจากห้าเกมที่ต้องแข่งกัน
ทั้ง ๆ ที่ Lee คือมืออาชีพระดับ 9 ดั้ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในโลกแล้ว จึงมีคนเปรย ๆ กันออกมามากมายว่า ถ้าอีกสี่เกมที่เหลือ Lee เป็นผู้ปราชัย นั่นก็แปลได้ว่าคงไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกที่จะเล่นโก๊ะเก่งกว่า AlphaGo อีกแล้ว
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พยายามจะสร้างสิ่งที่ฉลาดกว่าตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยหวังว่ามันจะสร้างสิ่งดี ๆ เพื่อมนุษยชาติ (แต่ถ้าเป็นในหนังหรือนิยายวิทยาศาสตร์มักจบลงด้วยความพังพินาศของมนุษย์ The Matrix เอย Skynet เอย)
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1996 Deep Blue เครื่อง Super Computer ของ IBM ก็เคยแข่งกับยอดนักหมากรุกของโลกในเวลานั้น Garry Kasparov อยู่ และได้ผลที่ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างสูสี
จากวันนั้นถึงวันนี้จะเห็นได้ว่าการพัฒนาการด้านปัญญาประดิษฐ์ของมนุษย์เติบโตไปอย่างมากมาย
แต่เราเองเคยสังเกตมั้ยว่าจริง ๆ แล้วปัญญาประดิษฐ์นั้นมันไม่ได้อยู่ไกลตัวเราสักเท่าไรเลย
เบื้องหลังการนำเสนอข้อมูลผ่านการค้นหา Google ของเรา..
เบื้องหลังอัลกอริทึมแนะนำ App ใน iTune ของเรา..หรือแม้กระทั่งเบื้องหลังการเลือกโฆษณามาปรากฎบนหน้า Facebook ของเรา ล้วนแล้วแต่มีการทำงานของปัญญาประดิษฐ์อยู่เบื้องหลังทั้งนั้น
Eli Pariser นักเคลื่อนไหวที่มีอิทธิพลในวงการอินเทอร์เน็ตโลก (ในช่วงเหตุการณ์ 9/11 เขาเป็นผู้เรียกร้องไม่ให้มีการโต้ตอบทางทหารผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนหันมาจับตามองเขา) ได้ออกมาเสนอแนวคิดที่ทำให้เราต้องกลับมามองการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเราอีกครั้งหนึ่ง โดยเขาเรียกทฤษฎีที่เขาคิดขึ้นมาว่า “The Filter Bubble หรือ ฟองสบู่กรองข้อมูล”
อัลกอริทึมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกรองข้อมูลที่มันคิดว่าเราไม่สนใจออกไป.. ผลก็คือมันทำให้
- ผลการค้นหาคำคำเดียวกันในกูเกิ้ลของคนสองคนถึงไม่เหมือนกัน 100%
- อัลกอริทึมเหล่านั้นบนอินเทอร์เน็ตคิดเองเราเป็นคนยังไง เราทุกคนจึงอาจถูกหล่อหลอมผ่านข้อมูลต่าง ๆ ให้มีลักษณะที่เป็นไปตามที่พวกมันคิด
- เราจะไม่มีโอกาสเห็นความคิดเห็นของเพื่อนบางคน หรือคนบางกลุ่ม ผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คใด ๆ เลย
- เรื่องบางเรื่องที่เราไม่ชอบ แต่ควรรู้ อาจหายไปจากชีวิตเราตลอดกาล เพียงเพราะเราไม่เคยกดไลค์ให้กับเรื่องราวเหล่านั้น
นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเมื่อคิด ๆ ดูแล้ว ยิ่งมันฉลาดขึ้นเท่าไรเราอาจจะได้รับประโยชน์ที่มากขึ้น แต่แน่นอนก็มีโทษที่เกิดขึ้นอย่างมากมายเช่นกัน
ผมจึงอยากแนะนำให้คนที่สนใจเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ และผลกระทบที่มันจะมีต่อชีวิตประจำวันของเราได้อ่านหนังสือเรื่อง “The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย” ของสำนักพิมพ์ MAXincube ซึ่งกำลังจะออกวางแผงสิ้นเดือน มีค. 2559 นี้ครับ เราจะได้รู้ว่า
ทั้ง ๆ ที่ Lee คือมืออาชีพระดับ 9 ดั้ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในโลกแล้ว จึงมีคนเปรย ๆ กันออกมามากมายว่า ถ้าอีกสี่เกมที่เหลือ Lee เป็นผู้ปราชัย นั่นก็แปลได้ว่าคงไม่มีมนุษย์คนไหนในโลกที่จะเล่นโก๊ะเก่งกว่า AlphaGo อีกแล้ว
มองในมุมของพัฒนาการด้านปัญญาประดิษฐ์แล้ว นี่มันเป็นความก้าวหน้าที่น่าจับตามองจริง ๆ
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พยายามจะสร้างสิ่งที่ฉลาดกว่าตัวเองอยู่ตลอดเวลา โดยหวังว่ามันจะสร้างสิ่งดี ๆ เพื่อมนุษยชาติ (แต่ถ้าเป็นในหนังหรือนิยายวิทยาศาสตร์มักจบลงด้วยความพังพินาศของมนุษย์ The Matrix เอย Skynet เอย)
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1996 Deep Blue เครื่อง Super Computer ของ IBM ก็เคยแข่งกับยอดนักหมากรุกของโลกในเวลานั้น Garry Kasparov อยู่ และได้ผลที่ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างสูสี
จากวันนั้นถึงวันนี้จะเห็นได้ว่าการพัฒนาการด้านปัญญาประดิษฐ์ของมนุษย์เติบโตไปอย่างมากมาย
แต่เราเองเคยสังเกตมั้ยว่าจริง ๆ แล้วปัญญาประดิษฐ์นั้นมันไม่ได้อยู่ไกลตัวเราสักเท่าไรเลย
เบื้องหลังการนำเสนอข้อมูลผ่านการค้นหา Google ของเรา..
เบื้องหลังอัลกอริทึมแนะนำ App ใน iTune ของเรา..หรือแม้กระทั่งเบื้องหลังการเลือกโฆษณามาปรากฎบนหน้า Facebook ของเรา ล้วนแล้วแต่มีการทำงานของปัญญาประดิษฐ์อยู่เบื้องหลังทั้งนั้น
ปัญญาประดิษฐ์ทำการวิเคราะห์เรา พยายามทำความเข้าใจเรา และคิดเอาเองว่าเราเป็นอย่างไรตามการศึกษาข้อมูลของมัน
Eli Pariser นักเคลื่อนไหวที่มีอิทธิพลในวงการอินเทอร์เน็ตโลก (ในช่วงเหตุการณ์ 9/11 เขาเป็นผู้เรียกร้องไม่ให้มีการโต้ตอบทางทหารผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนหันมาจับตามองเขา) ได้ออกมาเสนอแนวคิดที่ทำให้เราต้องกลับมามองการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเราอีกครั้งหนึ่ง โดยเขาเรียกทฤษฎีที่เขาคิดขึ้นมาว่า “The Filter Bubble หรือ ฟองสบู่กรองข้อมูล”
อัลกอริทึมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกรองข้อมูลที่มันคิดว่าเราไม่สนใจออกไป.. ผลก็คือมันทำให้
- ผลการค้นหาคำคำเดียวกันในกูเกิ้ลของคนสองคนถึงไม่เหมือนกัน 100%
- อัลกอริทึมเหล่านั้นบนอินเทอร์เน็ตคิดเองเราเป็นคนยังไง เราทุกคนจึงอาจถูกหล่อหลอมผ่านข้อมูลต่าง ๆ ให้มีลักษณะที่เป็นไปตามที่พวกมันคิด
- เราจะไม่มีโอกาสเห็นความคิดเห็นของเพื่อนบางคน หรือคนบางกลุ่ม ผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คใด ๆ เลย
- เรื่องบางเรื่องที่เราไม่ชอบ แต่ควรรู้ อาจหายไปจากชีวิตเราตลอดกาล เพียงเพราะเราไม่เคยกดไลค์ให้กับเรื่องราวเหล่านั้น
นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเมื่อคิด ๆ ดูแล้ว ยิ่งมันฉลาดขึ้นเท่าไรเราอาจจะได้รับประโยชน์ที่มากขึ้น แต่แน่นอนก็มีโทษที่เกิดขึ้นอย่างมากมายเช่นกัน
ผมจึงอยากแนะนำให้คนที่สนใจเรื่องของปัญญาประดิษฐ์ และผลกระทบที่มันจะมีต่อชีวิตประจำวันของเราได้อ่านหนังสือเรื่อง “The Filter Bubble ยิ่งหา ยิ่งหาย” ของสำนักพิมพ์ MAXincube ซึ่งกำลังจะออกวางแผงสิ้นเดือน มีค. 2559 นี้ครับ เราจะได้รู้ว่า
ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทและอิทธิพลกับชีวิตของเรามากแค่ไหน และเราต้องทำอย่างไรเพื่อรับมือกับมัน
Writer
bangkokian
part time teenager
The greatness of art is not to find what is common but what is unique.
Comments
nat_busters
5 years ago
ทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษ อยู่ที่เรารู้จักเลือกใช้มัน
Reply
bangkokian
5 years ago
ถูกต้องเลยครับ ทุกอย่างมีทั้งคุณและโทษ อยู่ที่เราใช้มันแบบไหน
สิ่งที่ผมพบ และกังวลมาก ๆ ก็คือ เมื่อเราถูกกรอบข้อมูลให้ไปในด้านใดด้านหนึ่งมาก ๆ มันอาจจะกลายเป็นว่าเราเชื่อในสิ่งที่มันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดก็ได้ เป็นประเด็นที่ผมยังอยากให้คนได้ตระหนักกันมาก ๆ
สิ่งที่ผมพบ และกังวลมาก ๆ ก็คือ เมื่อเราถูกกรอบข้อมูลให้ไปในด้านใดด้านหนึ่งมาก ๆ มันอาจจะกลายเป็นว่าเราเชื่อในสิ่งที่มันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดก็ได้ เป็นประเด็นที่ผมยังอยากให้คนได้ตระหนักกันมาก ๆ
gryffindort
5 years ago
โกะ ไม่ใช่ โก๊ะ ถ้าไม่รู้จักอย่างน้อยหาใน google ก็พอช่วยได้ครับ
เบื้องหลังการเลือกโฆษณามาปรากฎบนหน้า Facebook ของเรา
>>> เกิดจากการตั้งค่าการแสดงโฆษณาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายครับ สามารถกำหนด ช่วงอายุ, เพศ, สถานที่ใกล้เคียง ได้ทั้งหมด ถ้ายังไงลองลงโฆษณาใน facebook ดู จะได้รู้ว่าคนเลือกคือเจ้าของโฆษณา ไม่ใช่ อัลกอริทึม ครับ
- ผลการค้นหาคำคำเดียวกันในกูเกิ้ลของคนสองคนถึงไม่เหมือนกัน 100%
>>> ผมว่ามันเหมือนนะ ลองจากมือถือผม, มือถือเพื่อน, คอม
- เรื่องบางเรื่องที่เราไม่ชอบ แต่ควรรู้ อาจหายไปจากชีวิตเราตลอดกาล เพียงเพราะเราไม่เคยกดไลค์ให้กับเรื่องราวเหล่านั้น
>>> เรื่องที่ควรรู้ต้องไปหาเองสิครับ ไม่ใช่รอให้คนอื่นป้อน ยกเว้นคุณเป็นง่อย ต้องรอคนอื่นป้อนให้
เบื้องหลังการเลือกโฆษณามาปรากฎบนหน้า Facebook ของเรา
>>> เกิดจากการตั้งค่าการแสดงโฆษณาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายครับ สามารถกำหนด ช่วงอายุ, เพศ, สถานที่ใกล้เคียง ได้ทั้งหมด ถ้ายังไงลองลงโฆษณาใน facebook ดู จะได้รู้ว่าคนเลือกคือเจ้าของโฆษณา ไม่ใช่ อัลกอริทึม ครับ
- ผลการค้นหาคำคำเดียวกันในกูเกิ้ลของคนสองคนถึงไม่เหมือนกัน 100%
>>> ผมว่ามันเหมือนนะ ลองจากมือถือผม, มือถือเพื่อน, คอม
- เราจะไม่มีโอกาสเห็นความคิดเห็นของเพื่อนบางคน หรือคนบางกลุ่ม ผ่านช่องทางโซเชียลเน็ตเวิร์คใด ๆ เลย
>>> โดน Block หรือเปล่าครับ ถ้าอยากรู้แค่กดไปดูก็รู้แล้ว
- เรื่องบางเรื่องที่เราไม่ชอบ แต่ควรรู้ อาจหายไปจากชีวิตเราตลอดกาล เพียงเพราะเราไม่เคยกดไลค์ให้กับเรื่องราวเหล่านั้น
>>> เรื่องที่ควรรู้ต้องไปหาเองสิครับ ไม่ใช่รอให้คนอื่นป้อน ยกเว้นคุณเป็นง่อย ต้องรอคนอื่นป้อนให้
Reply
bangkokian
5 years ago
ครับผม :)
เพื่ออภิปรายกันต่อ อยากให้คุณ gryffindort ช่วยแนะนำสายงานที่ทำ แล้วก็ความสนใจซักนิดได้มั้ยครับ จะได้รู้ว่าควรคุยด้วยขอบเขตประมานไหน :)
ผมเป็น บก. หนังสือครับ แต่ก่อนหน้านั้นมีโอกาสทำออนไลน์เอเจนซี่มาพักนึงครับ
เพื่ออภิปรายกันต่อ อยากให้คุณ gryffindort ช่วยแนะนำสายงานที่ทำ แล้วก็ความสนใจซักนิดได้มั้ยครับ จะได้รู้ว่าควรคุยด้วยขอบเขตประมานไหน :)
ผมเป็น บก. หนังสือครับ แต่ก่อนหน้านั้นมีโอกาสทำออนไลน์เอเจนซี่มาพักนึงครับ
MidnightTurtle
5 years ago
ดูหลงประเด็นไปนะครับ
bangkokian
5 years ago
ขออนุญาติมาตอบแทนนะครับ คุณ gryffindort ได้มาขอโทษผมหลังไมค์แล้วครับ ผมตัดตอนมาแบบนี้นะครับ เอาเฉพาะตอนที่จะไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่ตัวเขาเพิ่มเติม ดังนี้ครับ
"เวลาเห็นประโยคที่อ่านแล้วติดขัดจะไปแย้ง อาจจะปากหมาไปบ้างต้องขอโทษด้วยครับ เพราะบางประโยคอ่านแล้วไม่ได้ใจความสมควรแก้ไข"
ซึ่งเขายอมรับแล้วว่าเขาไม่รู้ถึงเรื่องเนื้อหาจริง ๆ และผมถือว่าผมมีสิทธิจะนำคำขอโทษของเขามาเปิดเผยในที่สาธารณะได้ เพราะตอนที่ติงมาก็ทำในที่สาธารณะเช่นกัน หวังว่าจะช่วยให้การสนทนาในโพสนี้เกิดความสร้างสรรค์ในเชิงบวกมากขึ้นนะครับ
"เวลาเห็นประโยคที่อ่านแล้วติดขัดจะไปแย้ง อาจจะปากหมาไปบ้างต้องขอโทษด้วยครับ เพราะบางประโยคอ่านแล้วไม่ได้ใจความสมควรแก้ไข"
ซึ่งเขายอมรับแล้วว่าเขาไม่รู้ถึงเรื่องเนื้อหาจริง ๆ และผมถือว่าผมมีสิทธิจะนำคำขอโทษของเขามาเปิดเผยในที่สาธารณะได้ เพราะตอนที่ติงมาก็ทำในที่สาธารณะเช่นกัน หวังว่าจะช่วยให้การสนทนาในโพสนี้เกิดความสร้างสรรค์ในเชิงบวกมากขึ้นนะครับ
Ran
5 years ago
เสริมอีกหน่อยสำหรับคนที่อยากรู้ อัลกอริทึ่มในการจัดแบ่ง Interest ของ Facebook เรียกว่า Collaborative Filtering เป็น Unsupervised Machine Learning สาขาหนึ่งของศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์
Reply
lthlGhostEye
5 years ago
....สิ่งประดิษฐ์ หรือเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ หรือจะเป็นสูตร ทฤษฏีเพื่อการคิดคำนวณใดๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นล้วนสร้างขึ้นมาโดยมี "จุดประสงค์แห่งการสร้างเสมอ"
....สิ่งเหล่านี้จะผ่านกระบวนการพัฒนาที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ถูกลับ ถูกฝน ประกอบกันจากหลากหลายทฤษฏี หลากหลายแนวความคิด เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์แห่งการสร้าง
....สิ่งเหล่านี้จะผ่านกระบวนการพัฒนาที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ถูกลับ ถูกฝน ประกอบกันจากหลากหลายทฤษฏี หลากหลายแนวความคิด เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์แห่งการสร้าง
....ดังนั้นก็ไม่แปลก ที่ A.I. ที่ถูกพัฒนามาเพื่อให้เล่นโกะ จะมีประสิทธิภาพมากกว่ามนุษย์ ในเรื่องที่มันถูกสร้างมาให้ทำ
Reply
TAHM
5 years ago
ผมโพสเรื่องนี้ไปวันที่ 3 พอดี ตอนนี้แพ้ 2:0 แล้วครับพอดีมีเพื่อนเรียนด้านนี้ที่ ญี่ปุ่น ระบบประสาท AI computer กับอีกคนทำ Ph.D อัลกอริทึ่มที่อังกฤษ ลองเข้าไปดูครับ http://www.ted.com/talks/alex_wissner_gross_a_new_equation_for_intelligence?language=th
Reply
TAHM
5 years ago
ปัจจุบัน Facebook กับ google สามารถทำนายผลการเลือกตั้งของแต่ละเขตของ อเมริกาได้ก่อนแล้ว โดยผลคะแนนแบ่งเป็น % ที่ใกล้เคียงกับผลจริงมาก
bangkokian
5 years ago
น่าสนใจมากครับ ขอตามไปเสพย์ :D :D