ต้องเริ่มต้นด้วยการบอกว่าหัวข้อนี้ผมไม่ได้คิดเองแต่ต้น
ได้รับมาจากการไปมีตติ้งกับ Story log มีการจับสลาก
เพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องเขียนกัน
ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องเพศที่สามในทุกแง่มุม หรือลึกล้ำนัก
แต่ในฐานะนักเขียนก็พยายามติดตามทุกแง่มุมของสังคม
อยู่เสมอ ดังนั้นขอเขียนจากมุมมองนักสังเกตโลกคนหนึ่ง
เท่าที่จำได้ และหวังว่าจะไม่ผิด คำว่า “ตุ๊ด” ซึ่งถูกใช้เรียกเพศที่สาม
น่าจะเป็นศัพท์เฉพาะในไทยและเริ่มใช้แพร่หลายในช่วงปี พ.ศ.2525 (1982)
นี่เอง ต้นกำเนิดมาจากหนังเรื่อง Tootsie ซึ่งเป็นแนวโรแมนติก ดราม่า
ดัสติน ฮอฟแมน เล่นเป็นนักแสดงตกอับที่ตัดสินใจปลอมตัวเป็นผู้หญิง
ได้รับมาจากการไปมีตติ้งกับ Story log มีการจับสลาก
เพื่อแลกเปลี่ยนเรื่องเขียนกัน
ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องเพศที่สามในทุกแง่มุม หรือลึกล้ำนัก
แต่ในฐานะนักเขียนก็พยายามติดตามทุกแง่มุมของสังคม
อยู่เสมอ ดังนั้นขอเขียนจากมุมมองนักสังเกตโลกคนหนึ่ง
เท่าที่จำได้ และหวังว่าจะไม่ผิด คำว่า “ตุ๊ด” ซึ่งถูกใช้เรียกเพศที่สาม
น่าจะเป็นศัพท์เฉพาะในไทยและเริ่มใช้แพร่หลายในช่วงปี พ.ศ.2525 (1982)
นี่เอง ต้นกำเนิดมาจากหนังเรื่อง Tootsie ซึ่งเป็นแนวโรแมนติก ดราม่า
ดัสติน ฮอฟแมน เล่นเป็นนักแสดงตกอับที่ตัดสินใจปลอมตัวเป็นผู้หญิง
เพื่อหาโอกาสใหม่ในวงการบันเทิง
หนังประสบความสำเร็จ เพลงประกอบได้รับความนิยม
สุดท้ายสำหรับประเทศไทย คำว่า “ตุ๊ด”
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังถูกทิ้งเอาไว้ที่นี่
และกลายเป็นถ้อยคำสำหรับเรียกเพศที่สาม
พูดกันตามตรง คงต้องบอกว่าสำเนียง การแสดงออก
ความรู้สึกที่พ่วงกับคำนี้เป็นไปทางล้อเลียน หยามเหยียดอยู่ไม่น้อย
ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อคิดถึงนิสัยคนประเทศเราที่ยังมีการแบ่งแยกชนชั้น
การพูดจาสนุกขำขัน หรือการเล่นมุกสัปดนติดปาก
ส่วนความละเอียดอ่อนในด้านการแสดงออก คิดก่อนพูดนั้นยังน้อย
ดูจากผู้นำของไทยในแทบทุกยุคทุกสมัยก็คงพอเห็นภาพนะครับ (ฮา)
ถ้าเอาช่วงเวลาหนัง Tootsie ออกฉายเป็นจุดเริ่มต้น เวลาผ่านมาเกือบ 35 ปี
เมื่อเรามองคำว่า “ตุ๊ด” ในปัจจุบัน ไม่ว่าสังคมไทยหรือระดับโลก อย่างน้อยก็ยังเบาใจ
ที่ดูเหมือนกาลเวลาจะเปลี่ยนผู้คนไปในทางที่ดี
และยอมรับถึงความแตกต่างได้มากขึ้น
เมื่อสามสิบปีก่อนตุ๊ดถูกมองในเชิงล้อเลียนเหยียดหยามเป็นตัวตลก ตัวประหลาด
เกือบสิบปีก่อน ตอนหนังชายรักชายอย่างรักแห่งสยามออกฉาย ก็เป็นประเด็นทางสังคม
มีบางคนแสดงออกว่ารับไม่ได้ หรือถามไถ่ถึงความเหมาะสมอย่างรุนแรง
แต่ในตอนนี้ดูเหมือนทุกอย่างจะผ่อนคลายและเปิดกว้างขึ้นสำหรับเพศที่สาม
ในไทยมีละครซีรีส์อย่าง Tootsie Diary ที่มาจากเพจและหนังสือ
ดังฉายอยู่ในช่องโทรทัศน์ ความบันเทิงที่ทำให้ทั้งคนสังกัดเพศนี้หรือหญิงชาย
ธรรมดาสามารถหัวเราะ สนุกสนานไปพร้อมกัน
ถ้ามองในวงกว้างระดับโลกเอง แม้ไม่ได้ใช้คำว่า “ตุ๊ด” อย่างไทย
แต่จะเห็นว่าเพศที่สามได้รับการใส่ใจ การตอบสนองในทางที่ดีขึ้น
แค่เทียบกับยุค 90 ที่ผ่านมาไม่นานก็พอเห็นภาพ ผมจำได้ว่าตอนนั้นคนดังอย่างดารา
นักแสดงต้องพยายามปกปิดรสนิยมทางเพศตัวเอง เพราะกลัวจะเสียงานและไม่ได้รับการ
ยอมรับ แต่ตอนนี้หลายคนสามารถเปิดเผยตัวตนตั้งแต่แรก และยังได้รับการยอมรับ
มีหน้าที่การงานที่ดี อยู่แถวหน้าผลักดันวงการ
และส่งเสริมความกล้าให้คนธรรมดาอีกต่อ
สุดท้ายสำหรับประเทศไทย คำว่า “ตุ๊ด”
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังถูกทิ้งเอาไว้ที่นี่
และกลายเป็นถ้อยคำสำหรับเรียกเพศที่สาม
พูดกันตามตรง คงต้องบอกว่าสำเนียง การแสดงออก
ความรู้สึกที่พ่วงกับคำนี้เป็นไปทางล้อเลียน หยามเหยียดอยู่ไม่น้อย
ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องแปลก เมื่อคิดถึงนิสัยคนประเทศเราที่ยังมีการแบ่งแยกชนชั้น
การพูดจาสนุกขำขัน หรือการเล่นมุกสัปดนติดปาก
ส่วนความละเอียดอ่อนในด้านการแสดงออก คิดก่อนพูดนั้นยังน้อย
ดูจากผู้นำของไทยในแทบทุกยุคทุกสมัยก็คงพอเห็นภาพนะครับ (ฮา)
ถ้าเอาช่วงเวลาหนัง Tootsie ออกฉายเป็นจุดเริ่มต้น เวลาผ่านมาเกือบ 35 ปี
เมื่อเรามองคำว่า “ตุ๊ด” ในปัจจุบัน ไม่ว่าสังคมไทยหรือระดับโลก อย่างน้อยก็ยังเบาใจ
ที่ดูเหมือนกาลเวลาจะเปลี่ยนผู้คนไปในทางที่ดี
และยอมรับถึงความแตกต่างได้มากขึ้น
เมื่อสามสิบปีก่อนตุ๊ดถูกมองในเชิงล้อเลียนเหยียดหยามเป็นตัวตลก ตัวประหลาด
เกือบสิบปีก่อน ตอนหนังชายรักชายอย่างรักแห่งสยามออกฉาย ก็เป็นประเด็นทางสังคม
มีบางคนแสดงออกว่ารับไม่ได้ หรือถามไถ่ถึงความเหมาะสมอย่างรุนแรง
แต่ในตอนนี้ดูเหมือนทุกอย่างจะผ่อนคลายและเปิดกว้างขึ้นสำหรับเพศที่สาม
ในไทยมีละครซีรีส์อย่าง Tootsie Diary ที่มาจากเพจและหนังสือ
ดังฉายอยู่ในช่องโทรทัศน์ ความบันเทิงที่ทำให้ทั้งคนสังกัดเพศนี้หรือหญิงชาย
ธรรมดาสามารถหัวเราะ สนุกสนานไปพร้อมกัน
ถ้ามองในวงกว้างระดับโลกเอง แม้ไม่ได้ใช้คำว่า “ตุ๊ด” อย่างไทย
แต่จะเห็นว่าเพศที่สามได้รับการใส่ใจ การตอบสนองในทางที่ดีขึ้น
แค่เทียบกับยุค 90 ที่ผ่านมาไม่นานก็พอเห็นภาพ ผมจำได้ว่าตอนนั้นคนดังอย่างดารา
นักแสดงต้องพยายามปกปิดรสนิยมทางเพศตัวเอง เพราะกลัวจะเสียงานและไม่ได้รับการ
ยอมรับ แต่ตอนนี้หลายคนสามารถเปิดเผยตัวตนตั้งแต่แรก และยังได้รับการยอมรับ
มีหน้าที่การงานที่ดี อยู่แถวหน้าผลักดันวงการ
และส่งเสริมความกล้าให้คนธรรมดาอีกต่อ
บทบาทเพศที่สาม ไม่จำเป็นต้องถูกยึดติดกับภาพการแสดงออกแบบเก่า
อย่างเช่นการพยายามแต่งตัวหรือทำบุคลิกให้เหมือนผู้หญิงที่สุดอีกต่อไป
ตุ๊ดหลายคนสามารถแสดงออกเหมือนผู้ชายปกติทั่วไป
ไม่จำเป็นต้องประดับตัวด้วยสีสันจี๊ดจ๊าดเกินกว่าภาพจำเก่า
แค่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร ชอบอะไรแบบไหน และใส่ใจกับการพัฒนาทักษะ
ความสามารถตัวเองในแง่มุมอื่นมากกว่า
มองให้ลึกกว่านั้น เมื่อคิดถึงคำว่า “ตุ๊ด” ในปัจจุบัน เราอาจไม่ได้เห็นเพียงแง่มุมทางเพศ
แค่เพียงเรื่องเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้เท่านั้น แต่ยังทำให้คิดถึงสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เคยแบ่งแยก
อย่างเช่นการพยายามแต่งตัวหรือทำบุคลิกให้เหมือนผู้หญิงที่สุดอีกต่อไป
ตุ๊ดหลายคนสามารถแสดงออกเหมือนผู้ชายปกติทั่วไป
ไม่จำเป็นต้องประดับตัวด้วยสีสันจี๊ดจ๊าดเกินกว่าภาพจำเก่า
แค่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร ชอบอะไรแบบไหน และใส่ใจกับการพัฒนาทักษะ
ความสามารถตัวเองในแง่มุมอื่นมากกว่า
มองให้ลึกกว่านั้น เมื่อคิดถึงคำว่า “ตุ๊ด” ในปัจจุบัน เราอาจไม่ได้เห็นเพียงแง่มุมทางเพศ
แค่เพียงเรื่องเกี่ยวกับคนกลุ่มนี้เท่านั้น แต่ยังทำให้คิดถึงสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่เคยแบ่งแยก
เคยกีดกันให้เป็นคนนอกในอดีต เช่นผู้ป่วยติดเชื้อ HIV คนสีผิว คนเอเชีย หรือกระทั่งเพศหญิงที่ถูกมองว่าด้อยความสามารถและไม่มีบทบาทสำคัญเท่ากับเพศชายในบางประเทศ ในบางสาขาอาชีพ
แต่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาเรื่องความเท่าเทียมมากขึ้น
แน่นอนว่ามันอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบง่ายดาย แต่ก็เป็นทิศทางที่ดีและน่าสนใจ
สุดท้ายนี้เมื่อต้องมาคิดถึงเรื่องของ “ตุ๊ด” ในยุคปัจจุบัน
ผมไม่ได้มองเห็นเพียงแค่คำหรือกลุ่มอะไรเล็กๆ แต่กลับทำให้คิดถึงสิ่งที่ใหญ่กว่านั้น
แต่ปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาเรื่องความเท่าเทียมมากขึ้น
แน่นอนว่ามันอาจจะไม่ได้สมบูรณ์แบบง่ายดาย แต่ก็เป็นทิศทางที่ดีและน่าสนใจ
สุดท้ายนี้เมื่อต้องมาคิดถึงเรื่องของ “ตุ๊ด” ในยุคปัจจุบัน
ผมไม่ได้มองเห็นเพียงแค่คำหรือกลุ่มอะไรเล็กๆ แต่กลับทำให้คิดถึงสิ่งที่ใหญ่กว่านั้น
อย่างเรื่องกาลเวลา เรายังสามารถมีความหวังกับโลกยุคใหม่ที่ผู้คนจะเปิดใจ
และดูแลกันและกันให้ดีกว่าอดีตที่เคยเป็นมา
Writer
Pongwut
writer
เป็นนักเขียนที่มีผลงานตีพิมพ์ราว 70 เล่ม ทั้งสายวรรณกรรมเข้มข้นควบคู่กับงานเชิงพาณิชย์
เป็นผู้ได้รับรางวัลทางวรณกรรมจากหลายเวทีเช่น พานแว่นฟ้า สุภาว์ เทวกุลฯ ตะวันส่องอะวอร์ด นายอินทร์อวอร์ด เซเว่นบุ๊คส์อะวอร์ด มีผลงานบางชิ้นได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ ล่าสุดในปี 2015 เป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายซีไรต์อะวอร์ดจากนิยายเรื่อง 'ประเทศเหนือจริง'