
มาต่อกันเลยครับกับตอนที่ 4 ผมจะค่อย ๆ ทยอยนำมาโพสนะครับ ตอนนี้แปลไปครบทั้งหมดแล้ว แต่จะค่อย ๆ นำมาให้อ่านกันทีละข้อสองข้อ จะได้ไม่ยาวเกินไปจนน่าเบื่อครับ
เรามาเริ่มกันเลย..
คุณคลิกเข้าไปที่ลิงก์บทความเรื่อง UX ที่น่าสนใจ และก็รู้ว่ามันเขียนขึ้นโดย.. บริษัทแห่งหนึ่ง จากที่เคยเป็นชื่อแบบ “ปีเตอร์ มอร์วิลล์” “เจฟฟ์ เซาโร” และ “ดอน นอร์แมน” ก็เริ่มกลายเป็นชื่อที่เราคุ้น ๆ อย่าง.. “InVision” “UXpin” “Adobe”
ในปี 2015 เนื้อหาเรื่อง UX ที่ถูกแชร์มากที่สุดถูกเขียนขึ้นโดยบริษัท และโพสเอาไว้ในบล็อกของบริษัทเอง
มันเยี่ยมมากล่ะ! อย่าเข้าใจผมผิดนะ การที่เรื่องราวของ UX ได้รับความสนใจจากธุรกิจต่าง ๆ และในหมู่ดีไซเนอร์มันเป็นข่าวที่ดีมากสำหรับพวกเราที่จ่ายค่าเช่าบ้านด้วยงานด้าน UX เลยนะ และมันก็ไม่มีวิธีขายงาน UX ด้วยวิธีที่ดีกว่าการพูดถึงมันอีกแล้ว
ในขณะที่มันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับ UX ดีไซเนอร์ ที่จะพูดถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของทั้งโครงการ (เพราะมันไม่ใช่งานที่จะทำได้ด้วยตัวคนเดียว) แต่สำหรับบริษัทเหล่านี้มันเป็นเรื่องง่ายไง เพราะพวกเขาเป็นผู้ดูแลผลลัพธ์ของงานเหล่านี้โดยตรง และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนตลอดขั้นของการพัฒนา
แล้วด้านที่แย่ล่ะ? อืม มันก็มีบ้างแหละนะ เมื่อบริษัทออกมาเขียนถึงประเด็นที่เฉพาะเจาะจงอะไรสักประเด็น พวกเขาต้องการจำนวนคลิก พวกเขาต้องการสร้าง SEO ให้ไซต์ของเขา พวกเขาต้องการไปอยู่แถวหน้าในด้าน UX ด้านงานดีไซน์ และก็ด้านการสร้าง Prototyping ผลก็คือการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากของบทความที่เต็มไปด้วยคำยอดนิยมบรรจุอยู่ภายใน และลิงก์ไปสู่ฟรี E-book และหัวข้อที่ล่อให้คนเข้ามาอ่าน (Click-bait) ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนตัวเลขคนที่เข้ามาสู่เว็บไซต์ของพวกเขา
มาดูคำแนะนำสำหรับปี 2016 กันดีกว่า : ทุกครั้งที่คุณเข้ามาถึงเนื้อหาของบทความเหล่านี้ ท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจเลยว่าพวกเขาอาจจะกำลังพยายามขายอะไรบางอย่างให้คุณอยู่ ซึ่งอาจจะดี หรือไม่ดีก็ได้ ท่องเอาไว้เลยให้ขึ้นใจเลยครับ
ในปี 2015 เนื้อหาเรื่อง UX ที่ถูกแชร์มากที่สุดถูกเขียนขึ้นโดยบริษัท และโพสเอาไว้ในบล็อกของบริษัทเอง
มันเยี่ยมมากล่ะ! อย่าเข้าใจผมผิดนะ การที่เรื่องราวของ UX ได้รับความสนใจจากธุรกิจต่าง ๆ และในหมู่ดีไซเนอร์มันเป็นข่าวที่ดีมากสำหรับพวกเราที่จ่ายค่าเช่าบ้านด้วยงานด้าน UX เลยนะ และมันก็ไม่มีวิธีขายงาน UX ด้วยวิธีที่ดีกว่าการพูดถึงมันอีกแล้ว
ในขณะที่มันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับ UX ดีไซเนอร์ ที่จะพูดถึงกรณีศึกษาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของทั้งโครงการ (เพราะมันไม่ใช่งานที่จะทำได้ด้วยตัวคนเดียว) แต่สำหรับบริษัทเหล่านี้มันเป็นเรื่องง่ายไง เพราะพวกเขาเป็นผู้ดูแลผลลัพธ์ของงานเหล่านี้โดยตรง และเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนตลอดขั้นของการพัฒนา
แล้วด้านที่แย่ล่ะ? อืม มันก็มีบ้างแหละนะ เมื่อบริษัทออกมาเขียนถึงประเด็นที่เฉพาะเจาะจงอะไรสักประเด็น พวกเขาต้องการจำนวนคลิก พวกเขาต้องการสร้าง SEO ให้ไซต์ของเขา พวกเขาต้องการไปอยู่แถวหน้าในด้าน UX ด้านงานดีไซน์ และก็ด้านการสร้าง Prototyping ผลก็คือการเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมากของบทความที่เต็มไปด้วยคำยอดนิยมบรรจุอยู่ภายใน และลิงก์ไปสู่ฟรี E-book และหัวข้อที่ล่อให้คนเข้ามาอ่าน (Click-bait) ซึ่งจะช่วยเพิ่มจำนวนตัวเลขคนที่เข้ามาสู่เว็บไซต์ของพวกเขา
มาดูคำแนะนำสำหรับปี 2016 กันดีกว่า : ทุกครั้งที่คุณเข้ามาถึงเนื้อหาของบทความเหล่านี้ ท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจเลยว่าพวกเขาอาจจะกำลังพยายามขายอะไรบางอย่างให้คุณอยู่ ซึ่งอาจจะดี หรือไม่ดีก็ได้ ท่องเอาไว้เลยให้ขึ้นใจเลยครับ
จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า : เหล่าผู้เกี่ยวข้องกับงานดีไซน์ และเหล่านักเขียนจะลงทุนลงแรง และพยายามเขียนเนื้อหาเพิ่มขึ้นในปีหน้าเพื่อช่วยร่างขอบเขตในอนาคตของ UX อย่างบริสุทธ์ใจอยู่อีกหรือเปล่า?
6. กลยุทธ์ด้านเนื้อหาในฐานะของสถาปัตยกรรมข้อมูลรูปแบบใหม่
สิบปีที่แล้ว (ปี 1996) บริษัทต่าง ๆ ต้องการที่จะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง มันต้องเป็นเว็บที่ดูมั่นคงแข็งแรง เต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เป็นศูนย์รวมของทุก ๆ อย่างที่เชื่อมต่อกับแบรนด์ของพวกเขา และแน่นอนว่าเว็บไซต์เหล่านั้นต้องมีการจัดการเนื้อหาต่าง ๆ ในทิศทางที่เหมาะกับผู้ใช้งานด้วย
หมุนเวลาเดินหน้ามาอีกนิดนึง ในยุคถัดมาบริษัทต่าง ๆ เป็นเจ้าของเว็บไซต์หลายอัน ไมโครไซต์อีกหลายอัน ยังมีแอปมือถืออีกหลายตัว แล้วก็ช่องทางบนโซเชียลอีกหลาย ๆ ช่อง อีกทั้งยังมีบล็อก ยูทูปแชนแนล ระบบอินทราเน็ต และก็เว็บไซต์ภายในองค์กร และก็กรุ๊ป Slack (และอีกมากมายล้านแปดที่กำลังจะตามมา)
ข้อมูลเนื้อหาต่าง ๆ ไหลผ่านช่องทางเหล่านี้ทุกวัน และใครบางคนก็ต้องรับหน้าที่ที่จะทำให้ทุกข้อมูลมันดูโอเคสำหรับแต่ละช่องทางอย่างเหมาะสม ทำไม อย่างไร และที่ไหนก็ตามที่เราใส่ข้อมูลเข้าไป ซึ่งทั้งหมดนั่นมันก็พาเราไปสู่การวางกลยุทธ์ด้านเนื้อหาขนาดมหึมา
กระแสเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ได้เกิดมาจากที่ไหนก็ไม่รู้เฉย ๆ แต่ผลที่เกิดขึ้นในปี 2015 ก็คือว่ามันเป็นปีที่กลยุทธ์ด้านเนื้อหา (และชัดเจนว่านักกลยุทธ์ในด้านเนื้อหาด้วย) ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างชัดเจนในกระบวนการดีไซน์ ในองค์กรหลาย ๆ แห่ง เพื่อร่วมวางแผนให้เกิดประโยชน์
ปี 2016 เป็นปีที่คุณได้อัพเดท Portfolio ของคุณซะทีใช่มั้ยครับ?
6. กลยุทธ์ด้านเนื้อหาในฐานะของสถาปัตยกรรมข้อมูลรูปแบบใหม่
สิบปีที่แล้ว (ปี 1996) บริษัทต่าง ๆ ต้องการที่จะมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง มันต้องเป็นเว็บที่ดูมั่นคงแข็งแรง เต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย เป็นศูนย์รวมของทุก ๆ อย่างที่เชื่อมต่อกับแบรนด์ของพวกเขา และแน่นอนว่าเว็บไซต์เหล่านั้นต้องมีการจัดการเนื้อหาต่าง ๆ ในทิศทางที่เหมาะกับผู้ใช้งานด้วย
หมุนเวลาเดินหน้ามาอีกนิดนึง ในยุคถัดมาบริษัทต่าง ๆ เป็นเจ้าของเว็บไซต์หลายอัน ไมโครไซต์อีกหลายอัน ยังมีแอปมือถืออีกหลายตัว แล้วก็ช่องทางบนโซเชียลอีกหลาย ๆ ช่อง อีกทั้งยังมีบล็อก ยูทูปแชนแนล ระบบอินทราเน็ต และก็เว็บไซต์ภายในองค์กร และก็กรุ๊ป Slack (และอีกมากมายล้านแปดที่กำลังจะตามมา)
ข้อมูลเนื้อหาต่าง ๆ ไหลผ่านช่องทางเหล่านี้ทุกวัน และใครบางคนก็ต้องรับหน้าที่ที่จะทำให้ทุกข้อมูลมันดูโอเคสำหรับแต่ละช่องทางอย่างเหมาะสม ทำไม อย่างไร และที่ไหนก็ตามที่เราใส่ข้อมูลเข้าไป ซึ่งทั้งหมดนั่นมันก็พาเราไปสู่การวางกลยุทธ์ด้านเนื้อหาขนาดมหึมา
กระแสเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ได้เกิดมาจากที่ไหนก็ไม่รู้เฉย ๆ แต่ผลที่เกิดขึ้นในปี 2015 ก็คือว่ามันเป็นปีที่กลยุทธ์ด้านเนื้อหา (และชัดเจนว่านักกลยุทธ์ในด้านเนื้อหาด้วย) ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างชัดเจนในกระบวนการดีไซน์ ในองค์กรหลาย ๆ แห่ง เพื่อร่วมวางแผนให้เกิดประโยชน์
ปี 2016 เป็นปีที่คุณได้อัพเดท Portfolio ของคุณซะทีใช่มั้ยครับ?
ที่มาของบทความ : https://medium.com/user-experience-design-1/the-state-of-ux-in-2016-4a87799647d8#.yz5wsuapn
ที่มาของรูปภาพประกอบ : http://savewithspp.com/2013/11/04/nov-4-best-from-the-blogosphere/
บทความตอนอื่น ๆ ของเนื้อหาเรื่อง "สภาวะการณ์ของ UX ในปี 2016"
สภาวะการณ์ของ UX ในปี 2016 ตอนที่ 1 : http://bit.ly/UX2016EP01
สภาวะการณ์ของ UX ในปี 2016 ตอนที่ 2 : http://bit.ly/UX2016EP02
สภาวะการณ์ของ UX ในปี 2016 ตอนที่ 3 : http://bit.ly/UX2016EP03
ที่มาของรูปภาพประกอบ : http://savewithspp.com/2013/11/04/nov-4-best-from-the-blogosphere/
บทความตอนอื่น ๆ ของเนื้อหาเรื่อง "สภาวะการณ์ของ UX ในปี 2016"
สภาวะการณ์ของ UX ในปี 2016 ตอนที่ 1 : http://bit.ly/UX2016EP01
สภาวะการณ์ของ UX ในปี 2016 ตอนที่ 2 : http://bit.ly/UX2016EP02
สภาวะการณ์ของ UX ในปี 2016 ตอนที่ 3 : http://bit.ly/UX2016EP03
Writer
bangkokian
part time teenager
The greatness of art is not to find what is common but what is unique.